(VOVworld) - เกษตรกรในจังหวัดซอกจังจำนวนมากได้ปฏิบัติโครงการปลูกเห็ดฟางที่ให้กำไรสูง เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตตํ่าและสามารถใช้ประโยชน์จากกองฟางหลังการเก็บ เกี่ยวข้าวได้ ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและมีส่วนร่วมปฏิบัติมาตรฐานของการสร้าง สรรค์ชนบทใหม่
การเพาะเห็ดฟาง
|
ในช่วงว่างเว้นจากการทำไร่ทำนาก่อนการปลูกข้าวตามฤดูกาล ครอบครัวนาย เหงวียนวันเลิมในเขต 2 อำเภอเมืองหงานัม จังหวัดซอกจังได้ใช้ประโยชน์จากกองฟางหลังการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูก่อนเพื่อปลูกเห็ดฟาง โดยจากการเพาะก้อนเชื้อเห็ด 400 ก้อนเป็นเวลา 20 วัน ครอบครัวนายเลิมสามารถเก็บเห็ดฟางได้เฉลี่ยวันละเกือบ 100 กิโลกรัม สร้างกำไรเกือบ 15 ล้านด่ง
ผลสำเร็จจากโครงการปลูกเห็ดฟางดังกล่าวได้เป็นแบบอย่างให้ครอบครัวต่างๆในอำเภอเมืองหงานัม จังหวัดซอกจังปฏิบัติตาม รวมถึงครอบครัวนายด่าววันเกียต โดยนอกจากรับซื้อฟางในท้องถิ่นแล้ว ครอบครัวนายเกียตยังเดินทางไปซื้อฟางจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดเหายาง จังหวัดบากเลียวและจังหวัดก่าเมาอีกด้วย ส่วนการเพาะก้อนเชื้อเห็ด 1000 ก้อนจะสามารถเก็บเห็ดฟางได้เกือบ 2 ตัน สร้างกำไรกว่า 30 ล้านด่ง นายเกียตเล่าว่า “ในการเพาะเห็ดฟาง ต้องให้ความสำคัญต่อการเลือกฟาง การทำปุ๋ยหมักและการดูแลรักษาเห็ดฟางอย่างดีเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง”
ปัจจุบัน เกษตรกรในอำเภอเมืองหงานัมจำนวนมากกำลังผลักดันการพัฒนาการเพาะเห็ดฟาง โดยเฉพาะในช่วงว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา ซึ่งการเพาะเห็ดฟางจะช่วยทำความสะอาดพื้นที่นา สร้างงานทำและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในช่วงว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา
ปัจจุบัน อำเภอเมืองหงานัมมี 445ครอบครัวปลูกเห็ดฟาง ซึ่งมีปริมาณผลผลิตเกือบ 8 แสนตันต่อปี ในเวลาข้างหน้า ทางการและสมาคมเกษตรกรอำเภอเมืองหงานัมจะให้การช่วยเหลือเกษตรกรพัฒนารูปแบบการเพาะเห็ดฟาง พร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคนิกการเพาะเห็ดฟางอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือผลิตเห็ดฟางเพื่อป้อนให้แก่ตลาด อีกทั้งเพิ่มมูลค่าและกำไร นาย ห่งมิงเหญิต หัวหน้าสำนักงานเศรษฐกิจอำเภอเมืองหงานัม จังหวัดซอกจังได้เผยว่า“ทางการท้องถิ่นจะประสานงานกับธนาคารต่างๆเพื่อปฏิบัติมติของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายสนับสนุนเครื่องจักรกลเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งประสานงานกับธนาคารนโยบายพิจารณาการให้ความช่วยเหลือกองทุนการเงินแห่งชาติในการหางานทำและสนับสนุนชาวบ้านพัฒนาการเพาะเห็ดฟางเพื่อสร้างฐานะให้แก่ครอบครัว”
โครงการเพาะเห็ดฟางไม่เพียงแต่ได้รับการพัฒนาในอำเภอเมืองหงานัมเท่านั้น หากยังได้รับการขยายผลไปยังอำเภอใกล้เคียง เช่น หมิตู๊ โจว์แถ่งและแถกจิอีกด้วย ส่วนชาวบ้านมีความมั่นใจในการผลิตเนื่องจากมีตลาดรองรับ โดยสามารถจัดสรรค์ให้แก่โรงงานแปรรูปเห็ดฟางเพื่อการส่งออกและป้อนให้แก่ตลาดภายในประเทศ.