VOVworld )-
ภายหลังดำเนินโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่โฉมของชนบทเวียดนามมีความสวยงามมากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านก็พลอยดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผลงานที่โดดเด่นคือ การปรับปรุงระบบคมนาคมและพัฒนาการผลิต
ปัจจุบันมีตำบลร้อยละ ๙๐ ได้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่างน้อยหนึ่งแห่ง และบางพื้นที่สามารถก่อสร้างได้ถึง ๕ แห่ง ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นระบบคมนาคม ระบบไฟฟ้า การซ่อนแซมโรงเรียน น้ำบริโภคและชลประทาน ทั้งนี้ได้ทำให้โฉมของชนบทมีการเปลี่ยนแปลงสวยงามขึ้น ผลสำเร็จดังกล่าวมาจากการที่ทางการท้องถิ่นตระหนักถึงการวางแผนผังรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดฟู้เอียนมีตำบลทั้งหมด ๙๑ แห่งได้วางแผนผังและอนุมัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ภายในปี ๒๐๒๐ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจากการดำเนินโครงการต่างๆพร้อมๆกัน ปีนี้ได้มีการลงทุนกว่า ๘ แสน ๕ หมื่น ๕ พันล้านด่งหรือประมาณ ๑๒๒ ล้านบาทให้แก่โครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ นายเหงวียนวันเกี๋ยม รองเลขาธิการสาขาอำเภอเตยหว่าที่ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ที่ได้ มาตรฐาน ๑๒ ข้อจากทั้งหมด ๑๙ ข้อ เผยว่า “ ชาวบ้านมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่และตระหนักถึงหน้าที่ของตนในการทำให้คุณภาพชีวิตของทุกครอบครัวดีขึ้นและมีส่วนร่วมในการก่อสร้างถนนหนทาง แต่กว่าจะได้ผลดังปัจจุบัน เราต้องจัดการประชุมกับพวกเขาแล้วอธิบายให้เข้าใจว่า พวกเขาจะได้อะไรบ้างจากโครงสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ”
|
โฉมของหมู่บ้านสวยงามขึ้น |
ส่วนนายตังมิงห์หลก ปลัดสำนักงานบริหารโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เผยถึงมาตรการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ของแต่ละท้องถิ่นว่า หลายพื้นที่ได้เน้นในการพัฒนาการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้าน โดยปัจจุบัน ในทั่วประเทศมีโครงการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรเชิงพาณิชน์กว่า ๕,๐๐๐ โครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ มีโครงการทุ่งนาขนาดใหญ่ที่จังหวัดอานยางประสบความสำเร็จ ซึ่ง ๔๐ จังหวัดได้ส่งคณะมาดูงานและเรียนรู้ประสบการณ์ ส่วนที่นครโฮจิมินห์ได้ดำเนินนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการในการก่อสร้างเขตผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จังหวัดท้ายบิ่งได้ดำเนินนโยบายสนับสนุนเกษตรกรซื้อเครื่องไถนาและเครื่องเก็บเกี่ยวข้าวเอนกประสงค์ และจังหวัดห่าติ๋งปล่อยเงินกู้ด้วยดอกเบี้ยพิเศษให้เกษตรกรทำการผลิต นายหลกเผยว่า “ ก่อนลงมือปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ทางการตำบลได้ทำการประเมินสภาพของท้องถิ่นตนตามมาตรฐาน ๑๙ ข้อ โดยมีตำบล ๒๐๐ แห่งได้มาตรฐาน ๑๐ ข้อ ยังไม่มีตำบลแห่งใดได้มาตรฐาน ๑๕ ข้อขึ้นไป หลังจากดำเนินโครงการมาเป็นเวลากว่า ๒ ปีจำนวนตำบลได้มาตรฐานตั้งแต่ ๑๐ ข้อขึ้นไปเพิ่มขึ้น ๑๐ เท่า รวมทั้ง ๑๑ ตำบลนำร่องและอีก ๓๒ ตำบลได้มาตรฐานตั้งแต่ ๑๖ – ๑๙ ข้อ ซึ่งตำบลเหล่านี้ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะได้มาตรฐานทั้งหมด ๑๙ ข้อภายในปี ๒๐๑๕ ”
ผลสำเร็จของโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่มาจากหลายปัจจัย แต่มาตรการที่ทรงประสิทธิภาพคือ รัฐบาลให้ความสนใจเป็นพิเศษโดยได้สนับสนุนทั้งงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณท้องถิ่นจำนวน ๑ แสน ๗ หมื่น ๓ พันล้านด่งหรือประมาณ ๒ หมื่น ๕ พันล้านบาท นอกจากนี้แล้ว จังหวัดแต่ละแห่งก็มีมาตรการที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการดึงดูดเงินทุนในโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ไม่ว่าจะเป็นมาตรการการมีส่วนร่วมของชุมชนและนักธุรกิจ นายตังมิงห์หลกเผยต่อไปว่า การเน้นให้ความรู้และเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านในโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ส่งผลให้พวกเขามีความเข้าใจอย่างถูกต้องและสามารถสร้างสรรค์ชนบทสำเร็จตามมาตรฐาน ๑๙ ข้อ อีกเหตุผลคือการรู้จักใช้งบประมาณของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพโดยการให้ความสนใจต่อโครงการที่ส่งผลดีต่อแขนงงานอื่นๆอย่างหลากหลาย
ในปี ๒๐๑๓ และปีต่อๆไป การสร้างสรรค์ชนบทใหม่จะเน้นในประเด็นหลักคือ ประชาสัมพันธ์ในหมู่ประชาชน เปิดการฝึกอบรมความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่บริหารโดยเฉพาะในระดับพื้นฐาน เสร็จสิ้นการวางผังเสร็จและวางโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ระดับตำบลและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่เศรษฐกิจชนบทโดยเน้นพัฒนาการเกษตรเชิงสินค้าเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้าน ./.