กระบวนการแข่งขันในการผลิต ประกอบธุรกิจ การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างฐานะและแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนได้กลายเป็นกระบวนการที่กว้างลึกของชนชั้นเกษตรเวียดนามในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ (laodongthudo.vn) |
ในตลอดกว่า 30 ปีนับตั้งแต่จัดขึ้น กระบวนการนี้ได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากต่อภารกิจการแก้ปัญหาความยากจนและการปฏิบัตินโยบายสวัสดิการสังคมในเขตชนบท สร้างงานทำ เพิ่มรายได้และแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นแรงกระตุ้นให้แก่ความมุ่งมั่นในการพึ่งตน การฟันฝ่าอุปสรรค การเปลี่ยนแปลงใหม่นวัตกรรมของเกษตรกรในการสร้างฐานะให้แก่ครอบครัวและภูมิลำเนา เกษตรกรดีเด่นในการผลิตและประกอบธุรกิจได้ทำการปรับเปลี่ยนพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืช ใช้ศักยภาพและจุดแข็งของท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ลงทุนและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยี 4.0 ในการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า มีส่วนช่วยพัฒนาการเกษตรและชนบท ควบคู่กับเกษตรกรทั่วประเทศ ในทุกๆ ปี เกษตรกรดีเด่นได้บริจาคเงินรวมกันกว่า 1 หมื่นล้านด่ง วันทำงาน 3 ล้านวันและพื้นที่นับร้อยเฮกตาร์เพื่อสร้างสรรค์ชนบทใหม่ นาง เหงียนถิกิมฮวา หัวหน้าคณะเลขาธิการของสมาคมเกษตรกรเวียดนามเผยว่า
“แต่ละปี มีครอบครัวเกษตรกรประมาณ 3.6 ล้านครอบครัวได้รับใบรับรองธุรกิจครัวเรือนดีเด่น ซึ่งในนั้นมีหลายครัวเรือนที่มีรูปแบบการผลิตขนาดใหญ่ มีรายได้นับพันล้านด่ง ช่วยเพิ่มจำนวนเกษตรกรที่เป็นเศรษฐีมากขึ้น โดยพวกเขาได้กลายเป็นเกษตรกรดิจิทัล เกษตรกรเทคโนโลยีและเดินหน้าแนะแนวให้ความรู้แก่เกษตรกรคนอื่นๆ ในการฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อสร้างฐานะ สร้างงานทำและเพิ่มรายได้ ผลักดันการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ รักษาความมั่นคงด้านการเมืองและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตชนบท ค้ำประกันอธิปไตยเหนือทะเลและเกาะแก่งของประเทศ นี่คือผลความพยายามของเกษตรกรที่มุ่งมั่นแก้ปัญหาความยากจน กล้าคิดกล้าทำ มีความคล่องตัว มีความคิดสร้างสรรค์ พึ่งตนเอง และมีความฝันสร้างฐานะอย่างถูกต้อง”
ในยุคแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจองค์ความรู้ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการเกษตรกำลังเข้าถึงความคิดใหม่ๆ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเกษตรกรในวันนี้ไม่เพียงแต่ใช้ประสบการณ์ในการทำเกษตรเท่านั้น หากยังใช้เครื่องมืออัจฉริยะและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยอีกด้วย นาย เหงียนยวีฮึง รองหัวหน้าคณะเศรษฐศาสตร์ส่วนกลางได้แสดงความคิดเห็นว่า
“เกษตรกรหลายคนได้กลายเป็นนักวิจัยด้านการเกษตร ประยุกต์ใช้อี – คอมเมิร์ซและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อขายผลิตภัณฑ์ของตน ดังนั้น จำเป็นต้องยกระดับความรู้และความสามารถให้แก่เกษตรกรเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม อำนวยความสะดวกให้เกษตรกรเป็นฝ่ายรุกในการใช้เครื่องมือเพื่อการผลิต”
ไม่เพียงแต่มีความโดดเด่นในการผลิตและประกอบธรุกิจเพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวให้ดีขึ้นเท่านั้น หากเกษตรกรหลายคนยังมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อสังคม ตามข้อมูลสิถิติของสมาคมเกษตรกรเวียดนาม ทุกๆปี ครอบครัวเกษตรกรดีเด่นในการผลิตและประกอบธุรกิจได้สร้างงานทำให้แก่แรงงานในท้องถิ่นกว่า 5 ล้านคน ช่วยให้ครอบครัวเกษตรกรกว่า 2 แสนครอบครัวหลุดพ้นจากความยากจน
มติของการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามครั้งที่ 5 สมัยที่ 13 เกี่ยวกับการเกษตร เกษตรกรและชนบทถึงปี 2030 และวิสัยทัศน์ถึงปี 2045 ได้ยืนยันว่า การเกษตรเป็นความได้เปรียบของประเทศและเสาหลักของเศรษฐกิจ โดยกำหนดว่า เกษตรกรเป็นเจ้าของและเป็นศูนย์กลางในกระบวนการพัฒนาการเกษตร เศรษฐกิจชนบทและการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ แต่เพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ เกษตรกรไม่เพียงแต่ต้องยกระดับทักษะความสามารถและความรู้เท่านั้น หากยังต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อีกด้วยเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเกษตรกรที่มีความเป็นมืออาชีพ.