การร้องเพลงโต้ตอบหาคู่ท่ามกลางเขาหินอันกว้างใหญ่กับทะเลของอ่าวฮาลอง |
การร้องเพลงโต้ตอบหาคู่ท่ามกลางเขาหินอันกว้างใหญ่กับทะเลของอ่าวฮาลองได้สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวประมงในอดีต นี่ถือเป็นประสบการณ์สำหรับนักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางมาเยือนศูนย์วัฒนธรรมลอยน้ำในหมู่บ้านชาวประมงเกื๋อหว่าน กลางอ่าวฮาลอง สิ่งที่น่าสนใจคือหนุ่มสาวที่กำลังร้องเพลงโต้ตอบหาคู่นี้เป็นชาวประมงของหมู่บ้านชาวประมงลอยน้ำ ก่อนอพยพขึ้นฝั่งตามโครงการของจังหวัดกว๋างนิงห์เมื่อปี 2014 คุณ เหงียนถิหั่ง วิทยากรที่ศูนย์วัฒนธรรมลอยน้ำ เกื๋อหว่าน ได้เผยว่า “ดิฉันเติบโตที่หมู่บ้านชาวประมงเกื๋อหว่าน ดังนั้น ดิฉันรู้สึกยินดีมากเมื่อได้แนะนำเกี่ยวกับชีวิตของชาวบ้านและครอบครัวดิฉันให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ เมื่อเริ่มประกอบอาชีพนี้ดิฉันก็รู้สึกแปลกๆ เพราะไม่เคยติดต่อกับนักท่องเที่ยว แต่หลังจากได้รับการฝึกอบรมจากพี่ๆ ดิฉันจึงได้เรียนรู้ประสบการณ์มากมายในการอธิบายและแนะนำให้แก่นักท่องเที่ยวด้วยด้วยความรู้สึกที่จริงใจที่สุดเพื่อมีความมั่นใจแนะนำเกี่ยวกับวิถีชีวิตของตน”
หมู่บ้านชาวประมงเกื๋อหว่านเป็นหนึ่งในหมู่บ้านชาวประมงลอยน้ำ 7 แห่งในอ่าวฮาลองและเป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพที่สวยงามที่สุด ปัจจุบัน หมู่บ้านเกื๋อหว่านมีนักท่องเที่ยวมาเยือนประมาณ 200-400 คนต่อวัน ไกด์ซึ่งเป็นชาวท้องถิ่นดั่งเช่นคุณ หั่ง ไม่เพียงแต่แนะนำในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น หากยังสร้างความประทับใจเป็นอย่างมากให้แก่นักท่องเที่ยวผ่านการแสดงการร้องเพลงโต้ตอบหาคู่ การสาธิตทำเครื่องจักสานสำหรับใช้จับสัตว์น้ำ ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับชีวิตชนบทของชาวประมงอย่างแท้จริง
คุณ เหงียนถิหั่ง วิทยากรที่ศูนย์วัฒนธรรมลอยน้ำ เกื๋อหว่าน แนะนำเกี่ยวกับหมู่บ้านชาวประมงให้แก่นักท่องเที่ยว |
นอกจากการมีอาชีพที่มั่นคงในศูนย์วัฒนธรรมลอยน้ำในอ่าวฮาลองแล้ว ชาวประมงในหมู่บ้านยังได้รับการอำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมรูปแบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวต่างๆ ที่หมู่บ้านชาวประมงวุงเวียง ชาวประมงหลายคนได้กลับมาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผสานกับการต้อนรับนักท่องเที่ยว จากการได้รับการช่วยเหลือในเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะเลี้ยงและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การเพาะเลี้ยงปลา มูลค่าทางเศรษฐกิจสูงในกระชัง เช่น ปลากะพงขาว ปลาเก๋าและปลาช่อนทะเล ได้สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชาวประมง 60-70 ล้านด่งต่อปี
นอกจากสมาชิกของสหกรณ์กว่า 50 คนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมู่บ้านชาวประมง วุงเวียง ในอ่าวฮาลองยังมีสมาชิก 70 คนที่เป็นคนพายเรือพานักท่องเที่ยวไปเที่ยวสัมผัสกับชีวิตประจำวันของชาวประมง นาย ฝ่ามวันนังและนาย หวูวันห่ง สมาชิกของสหกรณ์หว่านจ่ายในหมู่บ้านวุงเวียงได้เผยว่า เมื่อมีนักท่องเที่ยว ถึงแม้ใช้ภาษาต่างประเทศไม่ได้ แต่ด้วยความเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว ชาวบ้านที่นี่ยินดีต้อนรับและแนะนำเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวประมงในหมู่บ้านให้แก่เพื่อนมิตรชาวต่างชาติ
“เมื่อก่อน ผมประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในอ่าว เมื่อได้ขึ้นฝั่งและได้กลับประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พวกเราสามารถทำมาหากินอย่างยั่งยืนและต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อประชาสัมพันธ์อ่าวฮาลองด้วย ผมรู้สึกปลื้มปิติยินดีมาก”
“พวกเรายังมีอาชีพพายเรือพานักท่องเที่ยวไปชมอ่าวฮาลอง มีรายได้ 3.5 ล้านด่งต่อเดือนซึ่งช่วยเพิ่มรายได้เพื่อดำรงชีวิต”
จากการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมและนามธรรม รวมถึงเกียรติประวัติวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ชาวประมงได้อนุรักษ์มานัยร้อยปี คณะกรรมการบริหารอ่าวฮาลองได้ประสานกับองค์กรทั้งภายในและต่างประเทศ เช่นสหรัฐและญี่ปุ่นทำการวิจัย ศึกษาและสร้างสถานที่ที่น่าสนใจเพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในหมู่บ้านชาวประมง เช่นถ้ำ เตียนอง เกื๋อหว่านและงานเทศกาลแห่น้ำ วิหารโก่วหว่างและบ่าแมน คุณ เหงียนเหวี่ยนแอง รองหัวหน้าคณะกรรมการบริหารอ่าวฮาลองได้เผยว่า “ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะพวกเขาอยากศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมของชาวประมงที่นี่ พวกเรากำลังขยายผลกิจกรรมร้องเพลงโต้ตอบหาคู่ ยกระดับโรงเรียนและห้องสมุดของลูกหลานในหมู่บ้านชาวประมงในอดีต นี่คือเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวประมงในอ่าวฮาลอง ซึ่งต้องได้รับการอนุรักษ์ให้แก่คนรุ่นหลังและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอ่าวฮาลอง”
การเพิ่มความหลากหลายให้แก่การบริการและแหล่งท่องเที่ยวบนอ่าวฮาลองผ่านกิจกรรมชุมชนช่วยเปลี่ยนแปลงและสร้างงานทำที่ยั่งยืนให้แก่ชาวประมง อีกทั้งอนุรักษ์ ส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรม เกียรติประวัติทางประวัติศาสตร์ของมรดก นี่จะเป็นไฮไลท์ที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ทำให้อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเมื่อเดินทางมาเที่ยวอ่าวฮาลองนอกจากการเยี่ยมชมทัศนียภาพที่สวยงามของอ่าวฮาลอง.