(VOVworld) - จากการประยุกต์ใช้ศักยภาพและจุดแข็งของท้องถิ่น จังหวัดนิงถวนกำลังปรับโครงสร้างการผลิตด้านปศุสัตว์ โดยเน้นพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ปีกและสัตว์ใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมีส่วน ร่วมยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งถือเป็นมาตรการปฏิบัติที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้ท้องถิ่น ต่างๆในจังหวัดนิงถวนสามารถบรรลุมาตรการของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่โดยเร็ว
ด้านปศุสัตว์ถือเป็นจุดแข็งในการผลิตเกษตรระยะปี 2011 – 2015 ของจังหวัดนิงถวน
|
ด้านปศุสัตว์ถือเป็นจุดแข็งในการผลิตเกษตรระยะปี 2011 – 2015 ของจังหวัดนิงถวน โดยทางการจังหวัดได้เน้นพัฒนาฟาร์มและทุ่งหญ้าเพื่อเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบัน ฝูงสัตว์ของจังหวัดนิงถ่วนมี กว่า 2 แสนตัว โดยมีฝูงแกะกว่า 9 หมื่นตัว และฝูงวัวมีกว่า 8 หมื่นตัว ในหลายปีที่ผ่านมา ทางการจังหวัดนิงถวนได้รณณงค์ให้ประชาชนผสานวิธีเลี้ยงแบบฟาร์มปิดและเปิดเพื่อรับมือกับปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนและปัญหาภัยแล้งเป็นเวลานานควบคู่ไปกับการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อและแกะเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพ นาย เลเกวี๊ยตทั้ง รองประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลหยิห่า อำเภอถวนนามเผยว่า “การพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อที่บ้านทำให้สามารถดูแลโคได้อย่างถูกวิธี อีกทั้งสะดวกในการควบคุมโรคระบาดและทำให้ลูกโคโตเร็วขึ้น ซึ่งช่วยสร้างฐานะให้แก่ชาวบ้าน
จังหวัดนิงถ่วนมีสภาพอากาศที่เหมาะกับการเลี้ยงแพะและแกะ โดยเฉพาะที่อำเภอนิงเซิน อำเภอนิงเฟือก อำเภอนิงหาย อำเภอถ่วนนามและอำเภอถ่วนบั๊ก โดยทางการจังหวัดได้วางแนวทางผลักดันการพัฒนาปศุสัตว์ ฟาร์มเกษตร อุตสาหรรมและกึ่งอุตสาหกรรมไปจนถึงปี 2020เพื่อยกระดับคุณภาพของฝูงสัตว์เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ความปลอดภัยและสุขอนามัยด้านอาหารและการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก ในเวลาข้างหน้า จังหวัดนิงถ่วนจะพัฒนาเขตผลิตหญ้าขนาดใหญ่ควบคู่ไปกับการพัฒนาฟาร์มเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งตั้งเป้าหมายว่า จะพัฒนาฝูงโค รวม 5 หมื่น 5 พันตัว ฝูงแพะรวม 3 หมื่น 5 พันตัวและฝูงแกะ รวม 6 หมื่นตัว นาย ฟานกวางถึว รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดนิงถ่วนได้เผยว่า “การพัฒนาฝูงสัตว์มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรในท้องถิ่น ทางการจังวหวัดจะผลักดันการประชาสัมพันธ์และแนะนำให้ชาวบ้านปลูกหญ้าเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นแนวทางที่มีลักษณะชี้ขาด ในเวลาที่ผ่านมา ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐ ประชาชนได้ปฏิบัติโครงการปลูกหญ้าเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ในเชิงรุก"
เพื่อมุ่งสู่การพัฒาปศุสัตว์อย่างยั่งยืน สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจังหวัดนิง่วนได้ปฏิบัติโครงการจัดทำสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้แก่ผลิตภัณฑ์เนื้อแกะของนิงถวนเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างพื้นฐานให้แก่การส่งออกไปยังประเทศต่างๆในอนาคต จากการประยุกต์ใช้ศักยภาพและจุดแข็งของท้องถิ่น รวมทั้งการปรับโครงสร้างการผลิตภาคปศุสัตว์ได้ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและมีส่วนร่วมต่อการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในท้องถิ่นต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลายพันครอบครัวได้เข้าร่วมการปฏิบัติ รวมทั้งบริจาคที่ดินและเงินเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หลังจากปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่มาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี จนถึงขณะนี้ ตำบลทั้งหมดของจังหวัดนิงถวนได้ทำการวางผังชนบทเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนในปี 2015 จะมีตำบล 11 แห่งบรรลุทั้ง 19 มาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ อัตราครอบครัวที่ยากจนลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้นจาก 11.96 ล้านด่งต่อคนต่อปีเมื่อปี 2011 เป็นเกือบ 20 ล้านด่งต่อคนต่อปีในปี 2014 ปัจจุบัน ตำบลส่วนใหญ่ได้บรรลุมาตรฐานเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคม รวมทั้งตำบลและหมู่บ้านทุกแห่งมีไฟฟ้าใช้
การประยุกต์ใช้ศักยภาพและจุดแข็งของท้องถิ่นในการพัฒนาปศุสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพและรณรงค์ให้ประชาชนเข้าร่วมการสร้างสรรค์ชนบทใหม่อย่างเข้มแข็งถือเป็นประสบการณ์ที่ดีให้แก่ตำบลต่างๆในจังหวัดนิงถ่วน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ถ้ามีมาตรการปฏิบัติที่เหมาะสมตามความปรารถนาของประชาชน จังหวัดนิงถวนจะสามารถบรรลุมาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ได้อย่างรวดเร็ว.