“บ้านที่ปลอดภัย” |
นาง หวี่ญถิเฝือง อาศัยที่เขตชุมชุนหมายเลข 9 ตำบลบิ่งถวน อำเภอบิ่งเซิน จังหวัดกว๋างหงายปีนี้ อายุเกือบ 80 ปีแล้วได้เผยว่า เธอไม่เคยเจอพายุที่รุนแรงเหมือนพายุโมลาเบที่พัดถล่มจังหวัดกว๋างหงายเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ต้นไม้หักโค่นจำนวนมาก บ้านและพื้นที่ทำการเกษตรของประชาชนได้รับความเสียหายอย่างหนัก ส่วนบ้านเอื้ออาทรของนาย เหงวียนบ๊อง ในตำบลบิ่งถวน ที่เพิ่งก่อสร้างเมื่อไม่กี่ปีก่อนก็ได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้นาย บ๊องไม่มีที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้านอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านด่ง ส่วนนาย เหงวียนลองในตำบลบิ่งถวนได้เผยว่า ครอบครัวของเขาได้รับผลกระทบจากพายุไม่มากนักแต่พายุทำให้ครอบครัวนายลองและครอบครัวอื่นๆไม่สามารถออกทะเลจับปลาได้ ดังนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาจึงประสบความยากลำบากเพราะรายได้ลดลง
ในขณะที่ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้านได้รับความเสียหายอย่างหนักแต่ครอบครัวนาง ฝามถิแอน เกิดเมื่อปี 1961 ไม่ได้รับความเสียหายเพราะบ้านของเธอเป็น “บ้านที่ปลอดภัย” ซึ่งได้รับการก่อสร้างภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลและ GCF -UNDP นางแอนเผยว่า เมื่อก่อน บ้านของเธอได้รับความเสียหายอย่างหนักจากพายุ เมื่อปี 2019 ครอบครัวของเธอเป็นครอบครัวยากจนดังนั้นจึงได้รับความช่วยเหลือก่อสร้าง “บ้านที่ปลอดภัย”
“ในช่วงนั้น บ้านของดิฉันพังทลาย ดิฉันขอขอบคุณรัฐที่ได้ช่วยก่อสร้างบ้านหลังนี้ เมื่อพายุโมลาเบพัดถล่ม ชาวบ้านก็มาหลบพายุที่บ้านของดิฉัน ”
ความแตกต่างของ “บ้านที่ปลอดภัย”คือมีชั้นลอย ถ้าหากเกิดเหตุน้ำท่วม เจ้าของบ้านสามารถขึ้นไปอาศัยที่ชั้นเพื่อความปลอดภัย (Photo:baotainguyenmoitruong) |
ความแตกต่างของ “บ้านที่ปลอดภัย”คือมีชั้นลอย ถ้าหากเกิดเหตุน้ำท่วม เจ้าของบ้านสามารถขึ้นไปอาศัยที่ชั้นเพื่อความปลอดภัย นาย หวูท้ายเจื่อง เจ้าหน้าที่ของโครงการ UNDP ได้เผยว่า
“การก่อสร้าง “บ้านที่ปลอดภัย”ต้องได้มาตรฐานต่างๆทั้งฐานราก พื้นบ้านและโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ บ้านที่ปลอดภัยต้องมีพื้นสูงกว่าระดับน้ำท่วม 1.5 เมตรขึ้นไป บันไดที่มีราวจับและประตูหน้าต่างที่ทำจากวัสดุที่ทนทาน มีหลังคามุงกระเบื้องหรือหลังคาสังกะสีที่ได้รับการเสริมแรงเพื่อค้ำประกันความปลอดภัยเมื่อเกิดพายุและฝนตก ระบบระบายน้ำต้องทำงานได้ดี ”
โครงการ “บ้านที่ปลอดภัย”เน้นให้ความช่วยเหลือผู้ยากจน ผู้หญิงที่ไม่มีครอบครัว ผู้ที่มีฐานะยากจนและคนพิการ การก่อสร้างบ้านหลังนี้มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมและใช้ประสบการณ์ในท้องถิ่น ส่วนการออกแบบของบ้านได้รับการตรวจสอบจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกระทรวงการก่อสร้างและสำนักงานการก่อสร้างในท้องถิ่น
นาย โงวันเวือง ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลบิ่งถวนได้เผยว่า “บ้านที่ปลอดภัย”ได้มีส่วนช่วยค้ำประกันความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในช่วงที่เกิดพายุโมลาเบ ทางการท้องถิ่นกำลังส่งเสริมให้ครอบครัวต่างๆก่อสร้างบ้านตามรูปแบบนี้ จากการเป็นท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ทางการตำบลบิ่งถวนได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการเพิ่มทักษะความสามารถในการป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติและอพยพประชาชนไปยังเขตที่ปลอดภัยในกรณีฉุกเฉิน แต่มาตรการที่ยั่งยืนก็คือ ประชาชนต้องมีความปลอดภัยในบ้านที่ปลอดภัยในช่วงที่เกิดเหตุอุทกภัย ดังนั้น UNDP ได้ร่วมกับทางการท้องถิ่นในเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางของเวียดนามปฏิบัติโครงการ “บ้านที่ปลอดภัย”ให้แก่ประชาชนในเขตนี้”.