เวียดนามส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน

Chia sẻ
(VOVWORLD) - รองนายกรัฐมนตรี โห่ดึ๊กเฟือก ได้นำคณะผู้แทนเวียดนามเข้าร่วมการประชุม Hamburg เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ HSC ครั้งที่หนึ่งในระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม การประชุม HSC มีผู้แทน 1,600 คนจาก 102 ประเทศเข้าร่วม โดยเน้นแสวงหามาตรการแก้ไขความท้าทายต่างๆในการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
เวียดนามส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 1บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม (VNA)

ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรี โห่ดึ๊กเฟือก ได้พบปะกับบรรดาผู้นำเยอรมนี กองทุนเพื่อการลงทุนด้านสภาพภูมิอากาศ หรือ CIF กองทุนภูมิอากาศสีเขียว หรือ GCF และสมาคมสถานประกอบการเยอรมนี-เอเชียแปซิฟิก หรือ OAV เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่สำคัญ เช่น การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การปรับเปลี่ยนพลังงานและการดึงดูดการลงทุน โดยในการพบปะกับนาง Svenja Schulze รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจเยอรมนี รองนายกรัฐมนตรี โห่ดึ๊กเฟือก ได้เสนอให้เยอรมนีสนับสนุนเงิน ODA ให้แก่เวียดนามในโครงการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและการเข้าถึงเงินทุนสำหรับปฏิบัติข้อตกลงการเป็นพันธมิตรด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม หรือ JETP ส่วนนาง Svenja Schulze ได้ชื่นชมการเข้าร่วมที่เข้มแข็งของเวียดนามในการประชุม HSC ความพยายามร่วมกับประชาคมโลกในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและแสวงหามาตรการส่งเสิรมการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งยืนยันว่า ความร่วมมือกับเวียดนามมีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติกรอบข้อตกลง JETP และกรอบทวิภาคี

ส่วนในการพบปะกับซีอีโอของ CIF และ GCF รองนายกรัฐมนตรี โห่ดึ๊กเฟือก ได้เชิญซีอีโอของ CIF และ GCF เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำกรอบหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโตสีเขียวจากเป้าหมายโลกปี 2030 หรือ P4G ครั้งที่ 4 ณ กรุงฮานอย พร้อมทั้งยืนยันคำมั่นของเวียดนามเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และเสนอให้สนับสนุนเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ส่วนในการประชุมกับ OAV รองนายกรัฐมนตรี โห่ดึ๊กเฟือก ได้เสนอให้สถานประกอบการทั้งสองประเทศใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-อียู หรือ EVFTA เพื่อผลักดันการแลกเปลี่ยนการค้า การลงทุนและเสนอให้พิจารณาการเชื่อมโยงหุ้นส่วนและความร่วมมือในด้านที่สอดคล้องกับจุดแข็งและความต้องการของทั้งสองประเทศ.

Komentar