กิจกรรมการก่อสร้างเกาะเทียมอย่างผิดกฎหมายของจีนในทะเลตะวันออก (Reuters/TTXVN) |
ดร.ตากาซิ โฮโซดะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงเอเชีย-แปซิฟิกจากมหาวิทยาลัย Charles เผยว่า จีนไม่มีหลักฐานทางนิตินัยเพื่อเรียกร้องอธิปไตยที่คลอบคลุมทะเลตะวันออกเกือบทั้งหมดตามข้อเรียกร้อง "เส้นประ9เส้น" เพราะเมื่อปี2016 ในกรณีที่ฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีน ศาลพีซีเอได้มีคำตัดสินที่ยืนยันว่าการประกาศอธิปไตยของจีนในทะเลตะวันออกนั้นขัดกับกฎหมายสากล ซึ่ง ดร.ตากาซิ โฮโซดะ ได้สนับสนุนสามประเทศยุโรปที่ส่งหนังสือแสดงทัศนะร่วมในปัญหาทะเลตะวันออกที่สอดคล้องกับกฎหมายสากล โดยเนื่องจากเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นสองประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายของอียูดังนั้นการส่งหนังสือดังกล่าวถือเป็นท่าทีที่สะท้อนให้เห็นว่าอียูให้ความสนใจต่อการผลักดันการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออกอย่างเข้มแข็งในกรอบของกฎหมายสากล
ส่วนดร. Jan Hornat นักวิจัยย่านมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิกได้แสดงความเห็นว่า ทะเลตะวันออกมีความหมายสำหรับอียูเพราะนอกเหนือจากความหมายด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจแล้ว นี่ยังเป็น "เขตทะเลที่เปิดกว้างและเสรี" และที่สำคัญที่สุดคืออียูอยากเชิดชูความเคารพกฎหมายในทุกการเคลื่อนไหว
นาย Vaclav Kopecky นักวิจัยด้านความมั่นคงแห่งเอเชีย จากสมาพันธ์ปัญหาระหว่างประเทศ (AMO) กล่าวว่า การที่สามประเทศอียูแสดงท่าทีต่อปัญหาทะเลตะวันออกและการเคลื่อนไหวของจีนในทะเลตะวันออกนั้นสะท้อนให้เห็นว่าอียูสนใจและมีความปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมค้ำประกันความมั่นคงทางทะเลตะวันออกเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาของภูมิภาคและโลก.