มติดังกล่าวประกอบด้วยมาตรการคว่ำบาตรตั้งแต่ปี 2014 เนื่องจากรัสเซียผนวกรวมไครเมียเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตนและมาตรการคว่ำบาตรใหม่ตั้งแต่ปี 2022 หลังจากรัสเซียเปิดยุทธนาการทางทหารพิเศษใส่ยูเครน
จนถึงขณะนี้ อียูได้ประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตร 14 ครั้งต่อรัสเซีย รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรด้านการค้า การเงิน เทคโนโลยี อุตสาหกรรม การคมนาคม การนำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และการส่งออกสินค้าไปยังรัสเซีย
ส่วนรัสเซียถือมาตรการคว่ำบาตรของอียูเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่สร้างสรรค์ โดยนาย วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้ย้ำว่า หนึ่งในเงื่อนไขเพื่อแก้ไขปัญหาของยูเครนคือฝ่ายต่างๆต้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย.