อาเซีียนแสดงความสามัคคีต่อปัญหาในทะเลตะวันอกก
|
(VOVworld) – วันที่ 12 พฤษภาคม สื่อมวลชนในภูมิภาคและโลกต่างลงข่าวและแสดงความคิดเห็นที่สนับสนุนทัศนะต่างๆที่เสนอในการประชุมสอดยอดอาเซียนครั้งที่ 24 ณ พม่าที่เพิ่งเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคมโดยหนังสือพิมพ์รายวัน Wall Street Daily ได้คัดเสนอบทปราศรัยของท่าน เหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีเวียดนามในการประชุมครบองค์ของการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ส่วนสำนักข่าว AP ของสหรัฐรายงานว่า หลายประเทศสมาชิกอาเซียนได้คัดค้านคำเรียกร้องเกี่ยวกับอธิปไตยในทะเลตะวันออกของจีนและแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียนได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทุกฝ่ายต้องใช้ความอดกลั้น แก้ไขการพิพาทอย่างสันติ ไม่ใช้หรือข่มขู่จะใช้ความรุนแรงและไม่ปล่อยให้สถานการณ์ทวีความตึงเครียด ส่วนหนังสือพิมพ์ News Sentinel ของสหรัฐได้อ้างความคิดเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ว่า ถึงเวลาแล้วที่เวียดนามควรพิจารณาการยื่นฟ้องจีนในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือร่วมกับฟิลิปปินส์ดำเนินการต่อสู้ทางนิตินัย เปิดช่องทางการต่อสู้ด้านการทูตใหม่เพื่อคัดค้านจีน
สำนักข่าว AP ของฝรั่งเศส หนังสือพิมพ์ The Myanmar Times และสถานีโทรทัศน์ ABS-CBN ได้ลงคำวิเคราะห์ของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เบนิกโน อากิโน นอกรอบการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเร็วๆนี้ ณ ประเทศพม่าว่า ผู้นำของหลายประเทศในภูมิภาคได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับ “การเผชิญหน้าที่อันตราย” ในทะเลตะวันออกระหว่างบางประเทศกับจีน ในขณะเดียวกัน นาย นาจิ๊บ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามัคคีเพื่อผลักดันการปฏิบัติตามกฎหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ส่วนนาย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ย้ำถึงความจำเป็นที่อาเซียนต้องมีความสามัคคีในปัญหานี้และยืนยันว่า ต้องผลักดันมาตรการที่สันติเพื่อแก้ไขการพิพาทตามอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982
แท่นขุดเจาะของจีนตั้งในเขตทะเลของเวียดนาม
|
ในขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์ใหญ่ๆหลายฉบับของเยอรมนีได้ลงบทความคัดค้านปฏิบัติการที่ยั่วยุของจีนโดยดร. Gerhard Will ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์และการเมืองของเยอรมนีหรือ SWP ได้ตำหนิการกระทำนี้ของจีนโดยย้ำว่า “ปฏิบัติการของจีนได้ละเมิดข้อกำหนดที่ระบุในอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 อย่างชัดเจน เป็นก้าวถอยหลังที่ร้ายแรงในความพยายามเพื่อลดการปะทะในทะเลตะวันออกเช่นเดียวกับการปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีที่อาเซียนและจีนได้ลงนามกันไว้” พร้อมทั้งยืนยันว่า ปฏิบัติการของจีนไม่มีเป้าหมายเพื่อสำรวจหรือขุดเจาะน้ำมัน หากเป็นการปฏิบัติข้อเรียกร้องด้านอธิปไตยที่ไร้เหตุผลในเขตทะเลของเวียดนาม เป็นการแสดงให้เห็นถึงนโยบายความแข็งแกร่งของตนผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น การบุกยึดเกาะและการเพิ่มปฏิบัติการทางทหาร ดร. Gerhard Will ยังแสดงความเห็นว่า ความตึงเครียดที่ยืดเยื้อไม่ใช่ความปรารถนาของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจะไม่เอื้ออำนวยให้แก่ผลประโยชน์ในระยะยาวของจีน
ในวันเดียวกัน สื่อมวลชนอียิปต์ต่างลงข่าวตำหนิการที่จีนละเมิดอธิปไตยของเวียดนามในทะเลตะวันออกอย่างอุกอาจโดยเว็บไซต์ภาษาอาหรับของสถานีโทรทัศน์ Aljazeera ก็ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับความตึงเครียดในทะเลตะวันออกหลังจากที่จีนส่งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 เข้าไปตั้งในเขตทะเลของเวียดนามโดยชี้ว่า นี่คือการกระทำที่ยั่วยุ ไม่เอื้อประโยชน์ให้แก่ความมั่นคงในภูมิภาค พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทุกฝ่ายต้องใช้ความอดกลั้น./.