รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส สเตฟาน เซฌูร์น กล่าวว่านี่คือ "ระดับใหม่" ของความตึงเครียดด้านความมั่นคง ซึ่งฝรั่งเศสต่อต้านการโจมตีนี้อย่างรุนแรง ส่วนผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปที่รับผิดชอบด้านนโยบายความมั่นคงและการต่างประเทศ โจเซฟ บอร์เรลล์ กล่าวว่าการโจมตีของอิหร่านเป็น "การทวีความรุนแรงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" และ "สร้างภัยคุกคามร้ายแรงต่อความมั่นคงในภูมิภาค" นายกรัฐมนตรีอังกฤษก็แสดงทัศนะต่อต้านการโจมตีดังกล่าวโดยย้ำว่าการกระทำนี้ "มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดและความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค" ซึ่งอังกฤษจะปกป้องความมั่นคงของอิสราเอลและพันธมิตรในภูมิภาคนี้รวมถึงจอร์แดนและอิรักต่อไป
ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีสหรัฐโจ ไบเดน ได้ออกแถลงการณ์ประณามการโจมตีอิสราเอลของอิหร่าน โดยกล่าวว่าเขาได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของสหรัฐต่อความมั่นคงของอิสราเอล ซึ่งประธานาธิบดีโจไบเดนยังประกาศว่าในวันที่14 เมษายน ตามเวลาสหรัฐเขาจะจัดการประชุมกับผู้นำของกลุ่มประเทศจี7 เพื่อพิจารณาการตอบโต้ทางการทูตต่อการโจมตีของอิหร่าน
คำแถลงที่โพสต์บนหน้าแรกของกระทรวงการต่างประเทศจีนในวันที่14 เมษายน แสดงความกังวลต่อการทวีความรุนแรงภายหลังปฏิบัติการทางทหารของอิหร่านต่ออิสราเอล โดยเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆใช้ความอดกลั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สถานการณ์บานปลาย ทางการปักกิ่งยังเห็นว่าความตึงเครียดที่วนเวียนอยู่นี้เป็น "คาบน้ำมัน" จากความขัดแย้งระหว่างขบวนการอิสลามฮามาสและอิสราเอล ดังนั้นการยุติความขัดแย้งนั้นถือว่า"สำคัญอันดับต้นๆ"
ปัจจุบัน หลายประเทศเพื่อนบ้านของอิสราเอลไรวมถึงอิรัก จอร์แดน และอียิปต์ด้ปิดน่านฟ้าเนื่องจากกังวลด้านความปลอดภัย ประเทศในภูมิภาคยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและอิสราเอลจะทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบในตะวันออกกลาง โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้น และไม่ปล่อยให้สถานการณ์บานปลายเกินกว่าจะควบคุมได้.