ยกระดับประสิทธิภาพการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

Chia sẻ
(VOVworld) – นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมปรับปรุงแผนการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุนของเวียดนามในระยะต่อไปโดยเร็ว วิจัย ประเมินผลกระทบในทางลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อหน่วยงานและด้านหลัก

ยกระดับประสิทธิภาพการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1
นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุกและผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม (vietnamplus)

(VOVworld) – เช้าวันที่ 19 เมษายน นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ประธานคณะกรรมการแห่งชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้เป็นประธานการประชุมครั้งที่ 7 ของคณะกรรมการฯ ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ได้ย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากประชาคมโลก รัฐบาลเวียดนามได้กำหนดว่า นี่คือหนึ่งในหน้าที่หลักและยาวนาน พร้อมทั้งชี้ชัดว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่คาดคิดมาก่อน เช่นสถานการณ์ภัยแล้งในเขตไตเงวียนและปัญหาน้ำทะเลซึมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ปัญหาภัยหนาว ฝนตกหนักและปรากฎการณ์ของสภาพอากาศแปรปรวนที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่องในเวียดนามนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆเน้นปรับปรุงโครงสร้างการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ระดับคณะกรรมการฯจนถึงระดับท้องถิ่น ปรับปรุงระบบนโยบายและกฎหมายให้มีความสมบูรณ์เพื่อส่งเสริมและเพิ่มความหลากหลายของแหล่งพลัง วิจัยการเปลี่ยแปลง ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกในสภาวการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังคงดำเนินไปอย่างยาวนาน
นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมปรับปรุงแผนการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุนของเวียดนามในระยะต่อไปโดยเร็ว วิจัย ประเมินผลกระทบในทางลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อหน่วยงานและด้านหลัก โดยเฉพาะการเกษตรและชนบท ตรวจสอบ อัพเดทและสอดแทรกการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเข้าในแผนยุทธศาสตร์ของเขตสำคัญ ยกระดับคุณภาพการพยากรณ์ เป็นฝ่ายรุกในการร่วมมือกับนานาชาติ แสวงหาแหล่งเงินทุนให้แก่งานด้านนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆถึงแผนการด้านชลประทานในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและเขตไตเงวียนเพื่อสำรองน้ำใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและการผลิตเกษตร. 

Komentar