ภาพการประชุม |
แผนปฏิบัติการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเขตลุ่มแม่น้ำแดงให้เป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับสถานการณ์ มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ อุตสาหกรรม การบริการที่ทันสมัย และเทคโนโลยีขั้นสูง การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีมูลค่าสูง นอกจากนี้ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำแดงจะกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาและฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ที่คุณภาพสูงของทั้งประเทศ นำหน้าในการพัฒนาวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี นวัตกรรม เศรษฐกิจดิจิทัล สังคมดิจิทัล มีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมที่ทันสมัย ในแผนการได้มีการระบุเป้าหมายเฉพาะด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 21 เป้าหมายและจะพยายามทำให้สำเร็จภายในปี 2030
ในการประชุม นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงการส่งเสริมศักยภาพและข้อได้เปรียบที่โดดเด่นเพื่อการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืนของที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างแท้จริง มีบทบาทเดินหน้านำกระบวนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเติบโตของประเทศ นายกรัฐมนตรีได้เสนอความเห็นหลายประการเกี่ยวกับการพัฒนาของเขตโดยเน้นที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ที่เชื่อมระหว่างเขตภูมิภาค และโลก มุ่งเน้นการพัฒนาด้าน ปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล การพัฒนาสีเขียว เศรษฐกิจหมูนเวียน เศรษฐกิจภูมิปัญญา การรักษาสิ่งแวดล้อม และการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นายกรัฐมนตรีกำชับให้เกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนนโยบายอย่างทันท่วงที ระดมทรัพยากรทั้งหมดเพื่อการพัฒนา ส่งเสริมการพึ่งตนเองในการพัฒนา.