ผู้เชี่ยวชาญเยอรมนีชื่นชมคำประกาศเกี่ยวกับทะเลตะวันออกของนายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุง

Chia sẻ
(VOV) - มาตรการเดียวเพื่อแก้ไขการปะทะในทะเลตะวันออกคือต้องอาศัยบนพื้นฐานของกฎหมายสากลและความร่วมมือพหุภาคี
ผู้เชี่ยวชาญเยอรมนีชื่นชมคำประกาศเกี่ยวกับทะเลตะวันออกของนายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุง - ảnh 1
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติเยอรมนีดอยช์ เวเลย์ออกข่าวเกี่ยวกับการเยือนเยอรมนี
และสหภาพยุโรปของนายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุง (Photo Reuters)
(VOVworld) – ในกรอบการเยือนประเทศเยอรมนีเมื่อเร็วๆนี้ ท่านเหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้มีบทปราศรัยที่สำสำคัญในกรุงเบอร์ลินเกี่ยวกับความท้าทายด้านความมั่นคงในเอเชียต่อบรรดาส.ส. ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการชาวเยอรมนีจำนวนมาก โดยย้ำถึงความไร้เสถียรภาพในทะเลตะวันออกซึ่งได้ดึงดูดความสนใจของหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆและนักวิชาการเยอรมนีจำนวนมาก ในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับคำประกาศของนายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงที่เกี่ยวข้องถึงสถานการณ์ในทะเลตะวันออก ดร. เกอร์ฮาร์ด วิลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองนานาชาติของเยอรมนี อดีตผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของสถาบันวิทยาศาสตร์และการเมืองเยอรมนีได้ยืนยันว่า ในบทปราศรัย นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหงียนเติ๊นหยุงได้ระบุอย่างชัดเจนว่า มาตรการเดียวเพื่อแก้ไขการปะทะในทะเลตะวันออกคือต้องอาศัยบนพื้นฐานของกฎหมายสากลและความร่วมมือพหุภาคี จุดยืนนี้ของนายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงก็สอดคล้องกับแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายของเยอรมนีและยุโรปว่า แก้ไขปัญหาการพิพาทในทะเลตะวันออกด้วยสันติวิธี พหุภาคีและตามกฎหมายสากล ดร. เกอร์ฮาร์ด วิลล์ได้เผยว่า ก่อนอื่นรัฐบาลเยอรมนีและอียูอาจนำปัญหาทะเลตะวันออกเข้าในระเบียบวาระการประชุมของฟอรั่มระหว่างประเทศหรือระเบียบความร่วมมือพหุภาคตามคำมั่นที่ให้ไว้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 10 รัฐบาลเยอรมนีและอียูอาจสนับสนุนมาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมที่เสนอโดยเวียดนามหรือบรรดาประเทศอาเซียนเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลตะวันออก เกี่ยวกับการที่จีนได้ก่อสร้างเกาะเทียมในบริเวณใกล้โขดหินกากมาในหมู่เกาะเจื่องซาหรือเสปรตลี่ย์ของเวียดนาม ดร.เกอร์ฮาร์ด วิลล์ได้ยืนยันว่า พฤติกรรมดังกล่าวของจีนได้ละเมิดแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกที่จีนได้ลงนามเมื่อปี 2002 ซึ่งทุกฝ่ายได้ให้คำมั่นว่า จะไม่ทำลายสภาพเดิมของภูมิภาคและเกาะที่กำลังพิพาทกันเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นพฤติกรรมในปัจจุบันของจีนอาจส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของจีนเองเพราะถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับบราดาประเทศอาเซียนเล็วร้ายลงจะส่งผลกระทบในทางลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของจีน./.

Komentar