ศาสตราจารย์ สุยลี่ผิง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสถาบันวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์จีน |
นี่คือการประเมินของศาสตราจารย์ สุยลี่ผิง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสถาบันวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์จีนในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเวียดนามในกรุงปักกิ่งในวันที่ 26 มิถุนายน
ตามความเห็นของศาสตราจารย์ สุยลี่ผิง การที่นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม WEF หรือดาวอสฤดูร้อน 2 ปีติดต่อกันในประเทศจีนได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของเวียดนามต่อฟอรั่มนี้อย่างเต็มที่ และแสดงให้เห็นถึงการให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อเวียดนามในนโยบายการทูตของจีน
ศาสตราจารย์ สุยลี่ผิง เผยว่า การที่เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตกว่าร้อยละ 5 เมื่อปีที่แล้ว และคาดว่า จะบรรลุร้อละ 6-6.5ในปีนี้เป็นสิ่งที่น่าประทับใจ เนื่องจากนี่คือการเติบโตที่ค่อนข้างสูงในกลุ่มเศรษฐกิจเพิ่งเกิดใหม่ในเอเชีย แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเวียดนามและแรงจูงใจในการพัฒนาของเวียดนามในอนาคต สำหรับการกล่าวสุนทรพจน์พิเศษของนายกรัฐมนตรีเวียดนามในการประชุม WEF ต้าเหลียนครั้งที่ 15 ศาสตราจารย์ สุยลี่ผิง ได้ประเมินว่า
“ผมคิดว่า นี่คือสุนทรพจน์ที่มีเนื้อหาที่หลากหลายและเป็นไปในเชิงบวกมากเนื่องจากได้สร้างความเชื่อมั่นเป็นอย่างมากให้แก่ชมรมสถานประกอบการและวงการนักการเมืองที่เข้าร่วมฟอรั่มครั้งนี้ นี่เป็นสิ่งที่น่าทึ่งมาก”
ศาสตราจารย์ สุยลี่ผิง เผยว่า ปัจจัย 3 ประเด็นที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกที่นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้กล่าวถึงคือ การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัด ปัญหาประชากรสูงอายุ และผลกระทบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ถือเป็นข้อสังเกตที่ถูกต้องของผู้นำเวียดนาม นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ สุยลี่ผิง แสดงความเห็นว่า 3 ด้านในการกำหนดรูปแบบ ความเป็นผู้นำและการบุกเบิก ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสีเขียวและทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูงที่นายกรัฐมนตรีฝ่ามมิงชิ้งเสนอ ถือเป็นแนวทางการพัฒนาที่ดีมากสำหรับเศรษฐกิจโลก.