ตำรวจปราบปรามการจลาจลในเมืองย่างกุ้ง (AFP) |
ตามรายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ได้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 รายและมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ 30 รายจากการปะทะเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ นาย Stephane Dujarric โฆษกของเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ยืนยันว่า การใช้อาวุธกระสุนจริงในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้และเรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมกันเรียกร้องให้ยุติสถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมาร์
ในวันเดียวกัน สหภาพยุโรปหรืออียูได้เตือนว่าจะใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาร์ นาย Josep Borrell ผู้แทนระดับสูงดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงของอียูได้ยืนยันว่า อียูจะอนุมัติมาตรการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลทหารของเมียนมาร์ ก่อนหน้านั้น บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรปได้เห็นพ้องกับมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาร์ และตัดสินใจระงับกิจกรรมช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา
ส่วนนาย แอนโทนี บลิงเคน (Antony Blinken) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมาร์เช่นกัน.