บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม |
รายงานประเมิน 3 ปีการปฏิบัติมติ 120 เกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแน้ำโขงอย่างยั่งยืนเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นาย เจิ่นห่งห่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ย้ำว่า แนวทางปรับตัวเข้ากับธรรมชาติได้เกิดประสิทธิผล สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านจิตสำนึก แนวคิดและการปฏิบัติของสำนักงาน หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในขั้นพื้นฐานได้รับการขานรับอย่างเข้มแข็งจากประชาชนและสถานประกอบการ อีกทั้งระดมการช่วยเหลือขององค์การระหว่างประเทศและหุ้นส่วนพัฒนา มติเป็นก้าวกระโดดใหญ่ มีความหมายในการกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงแบบบูรณาการ อย่างยั่งยืน ผสานกับวิสัยทัศน์ในระยะยาวและความมุ่งมั่นเกี่ยวกับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่ร่ำรวยและมั่งคั่ง ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ถือการใช้ทรัพยากรน้ำและที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดคือปรัชญาการพัฒนา
“ภายหลัง 3 ปีของการปฏิบัติมติ สามารถยืนยันได้ว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เปลี่ยนแปลงอย่างเข้มแข็งและมีความคืบหน้าต่าง ๆ ทั้งด้านแนวคิดและการปฏิบัติ รับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเชิงรุก ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ภาพรวมการพัฒนาของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงสดใสมากขึ้น ประสิทธิภาพของการกำหนดเขต เปลี่ยนแปลงการผลิตตามแนวง “เป็นไปตามธรรมชาติ”ได้รับการพิสูจน์และการขยายตัวจีดีพีของเขตอยู่ในระดับสูง”
ในการประชุม นาง Carolyn Turk ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า การระบุการวางผังเขตเข้าสู่การปฏิบัติจริงจะยังคงมีความท้าทายและความยากลำบาก ซึ่งรัฐบาลและท้องถิ่นต่างๆต้องพยายามออกแผนการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ธนาคารโลกสาขาเวียดนามเปิดการรณรงค์กระบวนการปฏิบัติการวางผังเขตและให้การช่วยเหลือการปฏิบัติมติ 120 ต่อไปผ่านการเสนอและเรียกร้องความร่วมมือของรัฐบาลในการจัดฟอรั่มเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง 2021 หลังจากการวางผังเขตได้รับการอนุมัติ
ในการกล่าวปราศรัยสรุปผลการประชุม นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ได้ยืนยันว่า เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงคือส่วนหนึ่งของเวียดนาม มีบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะในหลายปีมานี้ พรรคและรัฐได้มีแนวทางและนโยบายต่างๆเพื่อผลักดันการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในสภาวการณ์ปัจจุบันที่เขตนนี้กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ถึงแม้ผลการปฏิบัติมติ 120 ใน 3 ปีที่ผ่านมาได้เกิดประสิทธิผลในเบื้องต้น แต่กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆต้องกำหนดหน้าที่อีกหลายประเด็นที่ต้องปฏิบัติในเวลาที่จะถึง
“ถ้าอยากรักษาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ต้องรักษาคน ที่ดินและน้ำ วันนี้ ผมอยากกล่าวถึงปัญหาผู้ที่มีความสามารถของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นสถานที่ที่มีผู้ที่มีความสามารถมากมาย พวกเราต้องถือว่า นี่เป็นแหล่งพลังที่สำคัญ เป็นปัจจัยชี้ขาดในยุทธศาสตร์รับมือความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยชี้ขาด โอกาสนี้ ผมขอเสนอว่า ในเวลาที่จะถึง เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงควรจัดฟอรั่มในกรอบการสนทนา 2045เพื่อพบปะกับปัญญาชน นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ ผู้ที่มีกระบวนการผูกพันและกำลังลงทุนในเขตนี้เพื่อแสวงหามาตรการให้แก่ประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ผมมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกิ่นเทอเป็นประธานการสนทนา 2045 ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง”
เพื่อปฏิบัติเป้าหมายนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเห็นว่า ปัจจัยชี้ขาดอยู่ที่ความพยายามปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวง หน่วยงาน ท้องถิ่นและประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง อีกทั้งเสนอทัศนะเชิงยุทธศาสตร์ในการเข้าถึงใหม่ต่อการพัฒนาเขตนี้ผ่านหน้าที่ต่างๆที่ต้องปฏิบัติ.