ศ.กวี จงกิจถาวร นักวิจัยอาวุโสสถาบันความมั่นคงระหว่างประเทศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ในการกล่าวปราศรัยนอกรอบการสัมมนา นักวิชาการหลายคนได้เผยว่า การที่จีนสำรวจทางธรณีวิทยาในเขตทะเลตะวันออกที่ไม่อยู่ในอธิปไตยของจีนและขัดขวางกิจกรรมด้านปิโตรเลียมนอกฝั่งทะเลของประเทศต่างๆในทะเลตะวันออกนั้นเป็นการละเมิดอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 นาย อันโทนี เนลสัน ผู้อำนวยการดูแลปัญหาเอเชียตะวันออกและแปซีฟิกของกลุ่มบริษัทให้คำปรึกษา Albright Stonebridge เผยว่า อาเซียนควรมีเสียงพูดที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆในทะเลตะวันออก “อาเซียนต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหานี้ รวมทั้งการที่จะปล่อยให้บางประเทศสมาชิกที่ไม่มีการพิพาทในทะเลตะวันออกใช้สิทธิวีโต้ต่อมาตรการสำคัญอีกหรือไม่ นอกจากนี้ บางประเทศอาเซียนอาจจะร่วมกันปฏิบัติก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งถ้าจะได้รับการสนุบสนุนจากอินโดนีเซียก็ยิ่งดีแทนที่จะพึ่งพาอาเซียนเท่านั้น”
ส่วนศ.กวี จงกิจถาวร นักวิจัยอาวุโสสถาบันความมั่นคงระหว่างประเทศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยว่า “อาเซียนอยากมีระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีที่ดี เพราะนี่ไม่ใช่ปัญหาระหว่างจีนกับเวียดนามเท่านั้น ถ้าหากอาเซียนมีระเบียบการปฏิบัติต่อกันที่ดี ประเทศอื่นๆจะอยากร่วมมือกับอาเซียนและจีน เราไม่ควรเร่งรีบเกินไปเพื่อบรรลุระเบียบการปฏิบัติต่อกันถ้าหากมันยังไม่สมบูรณ์ ยังมีปัญหาต่างๆที่ต้องแก้ไขแม้ทุกฝ่ายได้บรรลุร่างเอกสารเกี่ยวกับซีโอซีแล้วก็ตาม”
ส่วนนาย Gregory Poling ผู้อำนวยการโครงการความคิดริเริ่มที่โปร่งใสในการเดินเรือในเอเชียเผยว่า ประชาคมระหว่างประเทศควรออกเสียงคัดค้านปฏิบัติการของจีนในทะเลตะวันออก “เมื่อสหรัฐแสดงความเห็น จีนก็จะอ้างว่า สหรัฐเป็นผู้สร้างเรื่อง แต่ถ้าหากเวียดนาม มาเลเซียและฟิลิปปินส์ร่วมกันดึงดูดความสนใจของประชาคมระหว่างประเทศในเรื่องนี้ นี่จะเป็นความสำเร็จ ในปี 2015 และ 2016 ประชาคมระหว่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมากถึงปฏิบัติการของจีน แต่ขณะนี้ ประชาคมระหว่างประเทศไม่สนใจอีกก็เพราะประเทศฟิลิปปินส์ไม่พูดถึงปัญหาทะเลตะวันออกอีก ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพราะไม่เพียงแต่สหรัฐ ญี่ปุ่นหรือออสเตรเลียเท่านั้น หากประชาคมระหว่างประเทศต้องร่วมออกเสียง มิฉะนั้น จีนจะเห็นว่า เขาไม่ได้รับผลเสียทางการทูตในปัญหานี้”.