การสัมมนานานาชาติ “ด้านทางนิตินัยที่เกี่ยวข้องถึงการที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนาม”
|
(VOVworld) – การสัมมนานานาชาติ “ด้านทางนิตินัยที่เกี่ยวข้องถึงการที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนาม” ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่นครโฮจิมินห์โดยมีนักวิชาการด้านกฎหมายสากล 50 คนจาก 12 ประเทศและตัวแทนของสำนักงานการทูต องค์การต่างประเทศและนักวิจัยเกี่ยวกับทะเลตะวันออกของเวียดนามเข้าร่วม ที่ประชุมได้เน้นถึง 3 ประเด็นหลักได้แก่ กฎหมายสากลและเหตุการณ์ที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 การแก้ไขการพิพาทผ่านมาตรการทางการเมืองการทูตในกฎหมายสากลและการแก้ไขการพิพาทผ่านกฎหมายสากล โดยบรรดาผู้แทนได้แสดงตความเห็นว่า การที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามอย่างผิดกฎหมายในเวลาที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสันติภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินเรือ การบินและการค้าในโลก รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มีประเทศใดสนับสนุนปฏิบัติการนี้เพราะจีนได้ละเมิดสิทธิอธิปไตยและสิทธิอำนาจศาลของเวียดนามอย่างรุนแรง ละเมิดอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลและแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซี ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องสามัคคีและมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เพื่อร่วมกับจีนจัดทำร่างระเบียบปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีเพื่อมีส่วนร่วมยับยั้งและแก้ไขความขัดแย้งเกี่ยวกับดินแดนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งรณรงค์ให้ประเทศนอกกลุ่มสนับสนุนกระบวนการแก้ไขผ่านมาตรการที่สันติ นาง จีนนี ไมเรอร์ ประธานสมาคมนักกฎหมายประชาธิปไตยโลกได้แสดงความเห็นว่า“ข้อตกลงฉบับต่างๆของสหประชาชาติและกฎหมายสากลมีข้อกำหนดเพื่อแก้ไขการพิพาทดังกล่าวอย่างสันติ เรียกร้องให้ทุกประเทศสมาชิกต้องแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงทรัพยากรแห่งชาติอย่างสันติ ดิฉันหวังว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และความร่วมมือในระดับสูงเพื่อสร้างแรงกดดันต่อจีน”
บรรดาผู้แทนแทนที่เข้าร่วมการประชุมได้ย้ำว่า ทะเลตะวันออกคือเส้นทางทะเลนานาชาติ มีบทบาททางภูมิศาสตร์และการเมืองสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการธำรงบรรยากาศเสถียรภาพ ความร่วมมือ พัฒนาในทะเลตะวันออกคือหน้าที่ของประเทศต่างๆและเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อค้ำประกันความมั่นคง การเดินเรืออย่างเสรีและการบินนานาชาติ ถึงแม้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม จีนได้ถอนแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 ออกจากเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามแล้วก็ตามแต่ปฏิบัติการดังกล่าวได้สร้างผลตามมาที่ร้ายแรงในความสัมพันธ์ด้านกฎหมายสากล ดังนั้นเพื่อเป็นฝ่ายรุกในการรับมือกับปฏิบัติการเหมือนการกระทำดังกล่าวของจีนที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากมาตรการต่อสู้ทางการทูต เวียดนามต้องประเมินหลักฐานทางนิตินัยอย่างสมบูรณ์และรวบรวมประชามติโลกที่สนับสนุนแถลงการณ์ของตนเกี่ยวกับอธิปไตยที่ชอบด้วยกฎหมายในทะเลตะวันออก นาย เปียเอร์ สชีพเฟอร์ลี หัวหน้าสำนักงานด้านกฎหมาย สชีพเฟอร์ลี อาโวแกต สวิสเซอร์แลนด์ได้แสดงความเห็นว่า“ทุกเอกสารต่างชี้ชัดว่าเวียดนามมีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลีย์และประวัติศาสตร์และกฎหมายสากลต่างยอมรับสิ่งนี้ ถึงแม้เวียดนามได้เรียกร้องให้กำหนดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับอธิปไตย แต่จีนก็ปฏิเสธการกำหนดในกรณีนี้ จีนได้ประกาศว่าได้เสร็จสิ้นการสำรวจและเริ่มการสำรวจในพื้นที่อื่นแต่ไม่อยู่ห่างจากเกาะจีโตนในหมู่เกาะหว่างซาของเวียดนาม ดังนั้นรัฐบาลเวียดนามเข้าใจอย่างชัดเจนว่า ปัญหานี้ยังไม่เสร็จสิ้นลงและเข้าใจดีว่า ตนต้องทำอย่างไร”
ข้อเสนอของนักวิชาการและผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมจะถูกส่งถึงสำนักงานที่เกี่ยวข้องของเวียดนามและองค์การต่างประเทศต่างๆ./.