ไทยพัฒนาการเกษตร 4.0

Chia sẻ
(VOVWORLD) - แม้ได้รับคำชื่นชมว่า เป็นหนึ่งในประเทศส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก แต่ในกระบวนการพัฒนาประเทศ บางช่วงไทยก็ติดกับดักรายได้ปานกลาง โดยเฉพาะในส่วนของเกษตรกร ดังนั้น รัฐบาลไทยมีวัตุประสงค์พัฒนาการเกษตร 4.0 เพื่อเพิ่มรายได้เฉลี่ยของเกษตรกรขึ้นเป็น 7 เท่า จาก 56,000 บาทขึ้นเป็น 390,000 บาทภายใน 20 ปี
ไทยพัฒนาการเกษตร 4.0 - ảnh 1การเกษตร 4.0 (Photo Internet)

เมื่อย่างเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิวัติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 การเกษตรไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากแบบพึ่งตนเองเป็นการผลิตเชิงพานิชย์และย่างเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยปลูกพันธุ์พืชใหม่ๆ ใช้ปุ๋ยอนินทรีและเครื่องจักรเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบัน เกษตรกรไทยเกือบ 100 เปอร์เซ็นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะบริษัทรายใหญ่ เช่น กลุ่มมิตรผล ซึ่งเป็นบริษัทผลิตน้ำตาลชั้นนำของเอเชียและอยู่อันดับที่ 4 ของโลก ใช้โดรนและภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อควบคุมคุณภาพของอ้อย ส่วนเครือบริษัทเบทาโกรผู้เลี้ยงไก่รายใหญ่มีเครื่องควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและแสงพร้อมระบบให้อาหารอัตโนมัติครบวงจร ส่วนฟาร์มเลี้ยงกุ้งของบริษัท CPF ได้ประยุกต์ใช้ระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อประหยัดพลังงานและตอบสนองมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร สำหรับในการผลิตข้าว การประยุกต์ใช้เกษตร 4.0 ในจังหวัดกาญจนบุรีในสองปีที่ผ่านมาได้ประสบผลที่น่ายินดี โดยสามารถเพิ่มผลผลิตถึงร้อยละ 27 นาย เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรไทยเผยว่า            “เรื่องดิจิตอลก็เป็นเรื่องที่เราทุกคน ทุกประเทศก็ให้ความสำคัญ ตอนนี้เรามี pilot project อยู่ที่เพชรบุรี ปีนี้ก็เป็นปีแรกที่เราดำเนินโครงการ pilot project ในการส่งเสริมการเกษตรแบบดิจิตอล แล้วก็ต่อไปเราจะมีขยายผลต่อไปเรื่อยๆ และเราก็จะมี pilot project ในเรื่องของการที่จะดำเนินการตั้งแต่ไฟล์ข้อมูลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ มาตั้งแต่เรื่องของการสภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ แล้วสภาพการลำบากของศัตรูพืชมาช่วยในการกำหนดในเรื่องของการเวลาในการที่จะเพาะปลูก การจัดการระหว่างเพาะปลูกและเรื่องของการเก็บเกี่ยว ซึ่งก็คิดว่าเป็นเรื่องที่สนใจของหน่วยงานต่างๆ”

จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ ในการผลิตการเกษตร 4.0 จะลดวิธีการที่ขาดประสิทธิภาพและขยายผลรูปแบบที่เหมาะสม เช่น ประหยัดน้ำในการผลิต ใช้ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืชและสารเคมีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ลดแรงงานและต้นทุนการผลิต ดร.เหงียนเหวียดควา หัวหน้าสำนักงานฝึกอบรมของกรมส่งเสริมการเกษตรแห่งชาติเวียดนามให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการเกษตร 4.0 ของไทยว่า            “ไทยคือประเทศที่มีการอัพเดทรวดเร็วเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเกษตร การเกษตร 4.0 ของไทยเน้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตสินค้าหลักและสินค้าที่มีลักษณะเชื่อมโยงกันและมีมูลค่าสูง เช่น ผักและผลไม้ นอกจากนี้ ยังแบ่งสินค้าเพื่อบริโภคภายในประเทศหรือส่งออกเพื่อมีแนวทางการพัฒนาที่แตกต่างกัน ปัจจุบัน ไทยกำลังส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การเกษตรเพื่อช่วยให้ประชาชนตระหนักได้ดีเกี่ยวกับความสำคัญของความปลอดภัยด้านอาหาร อาจกล่าวได้ว่า ยุทธศาสตร์ของไทยในการพัฒนาการเกษตร 4.0 คือพัฒนาตามประเภทและให้สิทธิพิเศษต่อสินค้าส่งออก”

แม้ได้ประสบผลที่น่ายินดีต่างๆด้านเกษตร เช่น ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่เกษตรกรไทยยังคงประสบความท้าทายต่างๆในการเข้าถึงระบบการเกษตร 4.0 เนื่องจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง วิธีการส่งข้อมูลและการพัฒนาการใช้แอฟพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ยังคงมีต้นทุนสูงมาก แต่เนื่องจากการช่วยเหลือของรัฐบาลผ่านการปฏิบัติโครงการและนโยบายต่างๆ เกษตรกรไทยนับวันยิ่งเป็นฝ่ายรุกในการใช้เทคโนโลยีและเข้าถึงตลาด ซึ่งในอดีต เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องขายผลผลิตผ่านพ่อค้าคนกลางแต่ปัจจุบันนี้ พวกเขาได้ใช้ช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย โดยเฉพาะเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter และ Lines เพื่อติดต่อและขายสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยตรง นาย พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ Smart Farmer ในจังหวัดมหาสารคามเผยว่า“   มันเป็นชีวิตประจำวันที่ผมสื่อทางเฟสต์บุ๊คว่าวันนี้ผมปลูกผักกี่แปลงๆ ผมพรวนดินแบบไหน คนเขาก็ได้ความรู้จากผม หลายท่านเขาก็ไปทำที่บ้าน พอเขาทำสำเร็จเขาก็โพสต์และแท็กกลับมาว่า ทำแล้วนะ ประสบความสำเร็จแล้วนะ ขอบคุณมาก ๆ สำหรับความรู้ที่ให้ ในเรื่องของตลาด เราส่งตามตลาดชุมชน ตลาดอำเภอ ตลาดจังหวัด บางส่วนก็เราติดต่อกับห้างโดยตรง ว่าเราสามารถผลิตผักได้ทุกวัน ทุกอาทิตย์ ทุกเดือน และสายก็ลงมาตรวจ  มันเป็นอาชีพที่ให้โอกาสคนอื่น เพราะปัจจุบัน เกษตรกรในบ้านเรามันเดินไปข้างหน้าไม่ได้ แล้วเราสามารถทำได้ขนาดนี้ มันคือแบบอย่างให้เกษตรกรคนอื่น ก็ภูมิใจในอาชีพที่เราสามารถทำให้คนไม่สบประมาทคำว่าเป็นอาชีพเกษตรกร ไม่อับอายเหมือนอย่างที่คิด”

นอกจากปฏิบัติโครงการสนับสนุนต่างๆ เช่น Smart Famers รัฐบาลไทยยังประกาศนโยบายให้สิทธิพิเศษต่างๆ เช่น ยกเว้นภาษีรายได้ต่อสถานประกอบการภาคเอกชนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตเกษตรเป็นเวลา 5 ปี พร้อมทั้งเน้นก่อสร้างศูนย์การเกษตรและอาหาร 4.0 ในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคอีสานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศูนย์การเกษตรและอาหาร 4.0 ในภาคเหนือพัฒนาฟาร์มเลี้ยงโคนมอัฉริยะตามมาตรฐานสากลและผลิตอาหารเสริม ศูนย์การเกษตรและอาหาร 4.0 ในภาคใต้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลิตอาหารเจและยางธรรมชาติ เป็นต้น

อาจกล่าวได้ว่า การประกาศนโยบายที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ได้ทำให้ประเทศไทยไม่เพียงแต่พร้อมสำหรับการพัฒนาการเกษตร 4.0 เท่านั้น หากยังมุ่งสู่การปฏิบัติเป้าหมายเพิ่มรายได้เฉลี่ยของเกษตรกรขึ้นเป็น 7 เท่าภายใน 20 ปีข้างหน้าอีกด้วย.

คำติชม