เศรษฐกิจทางทะเลมีความหมายสำคัญต่อการพัฒนาของเขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลาง

Chia sẻ
(VOVWORLD) -เช้าวันที่ 16 พฤศจิกายน ณ สำนักงานของพรรคฯ ภายใต้อำนวยการของท่าน เหงียนฟู้จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสตร์เวียดนาม ได้มีการจัดการประชุมทั่วประเทศเกี่ยวกับการปฏิบัติมติของกรมการเมืองพรรคฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและค้ำประกันความมั่นคงด้านกลาโหมและความมั่นคงของเขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางถึงปี 2030 วิสัยทัศน์ถึงปี 2045
เศรษฐกิจทางทะเลมีความหมายสำคัญต่อการพัฒนาของเขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลาง - ảnh 1นาย เจิ่นต๊วนแอง หัวหน้าคณะกรรมการเศรษฐกิจส่วนกลางกล่าวปราศรัยในการประชุม

ในการกล่าวปราศรัยในการประชุม เลขาธิการใหญ่พรรคฯ เหงียนฟู้จ่อง ได้ระบุว่า “การพัฒนาสองเขตดังกล่าวต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน การขยายตัวแห่งสีเขียวและยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนาม พัฒนาเขตทะเลที่เข้มแข็ง มีความร่ำรวยจากทะเลบนพื้นฐานแห่งการส่งเสริมศักยภาพและความได้เปรียบที่มีอยู่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับทะเล พัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ เขตเศรษฐกิจริมฝั่งทะเล เขตนิคมอุตสาหกรรมและระบบตัวเมืองริมฝั่งทะเล รวมไปถึงระเบียงเศรษฐกิจ เขตศูนย์กลางและเขตที่เป็นพลังขับเคลือน ตลอดจนหน่วยงานเศรษฐกิจทางทะเล”

เลขาธิการใหญ่พรรคฯ เหงียนฟู้จ่อง ยังกำชับให้กระทรวง หน่วยงานส่วนกลางและทางการท้องถิ่นในเขตแปรมตินี้ด้วยกลไก นโยบาย แผนการ โครงการและแหล่งพลังที่เป็นรูปธรรมให้กลายเป็นความจริง

ส่วนในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนาม นาย เจิ่นต๊วนแอง หัวหน้าคณะกรรมการเศรษฐกิจส่วนกลางได้ย้ำว่า เขตริมฝั่งทะเลภาคกลางและภาคกลางตอนบนมีบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อประเทศ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากพรรคฯ และรัฐ มติของกรมการเมืองพรรคฯที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมาที่มีการกำหนดแนวทางที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ใหม่จะเป็นพื้นฐานให้แก่นโยบายผลักดันการพัฒนาของเขตในเวลาที่จะถึง
“มติฉบับนี้มีเนื้อหาที่สำคัญคือ จากการมีบทบาที่สำคัญ การพัฒนา การค้ำประกันความมั่นคงและความกลาโหมของภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางต้องถูกระบุในยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมของประเทศ  จำเป็นต้องปรับปรุงกลไกนโยบายให้มีความสมบูรณ์และพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างเขต โดยเฉพาะระหว่างสองเขตดังกล่าวกับ 5 เขตเศรษฐกิจสังคมที่เหลือของประเทศ นอกจากนี้ 14 จังหวัดและนครของสองเขตนี้เป็นท้องถิ่นริมฝั่งทะเล ดังนั้น เศรษฐกิจทางทะเลมีความหมายและสถานะที่สำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาของภูมิภาค ทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและการรักษาความมั่นคงและกลาโหม”.

คำติชม