ชนกลุ่มน้อยเผ่าไย้ ที่ยังเรียกว่าเผ่า ญั้ง หรือ เผ่าปู๊หนา ... มีประชากรประมาณ 25,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่จังหวัดลายโจว
|
ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนาน ชาวไย้มีชีวิตทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
|
หนึ่งในเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าไย้คือพิธีรับเจ้าสาวในงานแต่งงาน
|
พิธีรับเจ้าสาวมักจะมีขึ้นในช่วงปลายปี
|
ก่อนพิธีรับเจ้าสาว เจ้าบ่าวและเจ้าสาวต้องปฏิบัติพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีสู่ขอและพิธีหาคู่อีกรอบหนึ่ง ...
|
ขบวนรับเจ้าสาวมีทีมเป่า “ปี่แก๋ว” รวม 4 คน แม่สื่อ 2 คน เจ้าบ่าว เพื่อนเจ้าบ่าวและคนถือสินสอด
|
สินสอดประกอบด้วย เหล้า ขนมและไก่
|
ขบวนขันหมากจะเป่า “ปี่แก๋ว” ตลอดช่วงที่เดินทางไปบ้านของเจ้าสาว
|
พี่น้องญาติมิตรและเพื่อนๆ ในหมู่บ้านจะเดินตามขบวนเพื่อรับเจ้าสาว
|
แม่สื่อ 2 คน เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพูดคุยสู่ขอเจ้าสาว
|
ประตูเข้าไปรับเจ้าสาวจะผูกด้วยเชือกสีแดง เมื่อแม่สื่อมาถึงก็จะร้องเพลงเพื่อขอให้ฝ่ายเจ้าสาวเปิดประตู
|
เมื่อประตูเปิด ตัวแทนของฝ่ายหญิงจะพรมน้ำใส่ขบวนขันหมากเพื่อเป็นการชะล้างฝุ่นและความโชคร้าย
|
ตัวแทนของฝ่ายหญิงจะเชิญแม่สื่อดื่มเหล้าเพื่อเป็นการอวยพรเจ้าบ่าว เจ้าสาว
|
การเป่า “ปี่แก๋ว” เป็นสิ่งที่มีความหมายเพื่อเป็นการโน้มน้าวให้ฝ่ายหญิงปลดเชือกแดงและเชิญเข้าบ้าน
|
หลังจากทำพิธีขอรับเจ้าสาวเสร็จ ทั้งสองฝ่ายก็นั่งคุยกันเกี่ยวกับชีวิตของเจ้าบ่าวและเจ้าสาวในอนาคต
|
เมื่อเสียงกลองมโหระทึกและเสียงปี่แก๋วดังขึ้นก็เป็นช่วงรับเจ้าสาวกลับครอบครัวของเจ้าบ่าว
|
ตามประเพณีของชนกลุ่มน้อยเผ่าไย้ ในตลอดเส้นทางที่ไปยังบ้านของเจ้าบ่าว เจ้าสาวต้องคลุมหน้าด้วยผ้าสีแดง
|
ช่วงเวลาที่สนุกสนานที่สุดคือช่วงที่เจ้าบ่าวเปิดผ้าคลุมหน้าเจ้าสาว ซึ่งถือเป็นการเริ่มชีวิตใหม่ของคู่บ่าวสาว
|
พิธีรับเจ้าสาวถือเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ชนกลุ่มน้อยเผ่าไย้ในจังหวัดลายโจวยังคงอนุรักษ์และสืบทอดให้แก่คนรุ่นหลังพร้อมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.