“น้ำอบไทย” – เครื่องหอมของคนไทยในเทศกาลสงกรานต์

Chia sẻ
(VOVWORLD) -เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์นอกจากการสาดน้ำแล้ว อีกสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ก็คือกลิ่นหอมของน้ำอบที่ใช้สำหรับสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ในรายการชายคาอาเซียนของเราวันนี้ เราจะร่วมกับคุณ ฝ่ามหงอกเหยียบ ผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามประจำประเทศไทยศึกษาเกี่ยวกับน้ำอบไทยผ่านสารคดี ““น้ำอบไทย” – เครื่องหอมของคนไทยในเทศกาลสงกรานต์” กันค่ะ
“น้ำอบไทย” – เครื่องหอมของคนไทยในเทศกาลสงกรานต์ - ảnh 1น้ำอบไทย” – เครื่องหอมของคนไทยในเทศกาลสงกรานต์
จากข้อมูลที่ผู้สื่อข่าวของเราได้ศึกษามาก็ทราบว่าเทศกาลสงกรานต์จะไม่สมบูรณ์หากขาดกลิ่นหอมของน้ำอบ

ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีรดน้ำดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยคนไทยจะนำน้ำอบผสมกับน้ำลอยดอกมะลิเพื่อรดที่มือและล้างเท้าพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ในบ้าน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และเป็นการขอขมาลาโทษต่อการกระทำที่เคยล่วงเกิน อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล

“น้ำอบ” คือน้ำที่มีกลิ่นหอมจากการอบควันกำยาน (เทียนอบ)  แล้วนำมาผสมกับเครื่องหอมและสมุนไพรกลิ่นหอมชนิดต่างๆ มีลักษณะเป็นน้ำใสสีเหลืองอ่อนๆ เมื่อนำมาใช้ทาประโลมผิวจะให้สัมผัสที่เย็นสดชื่น ช่วยคลายร้อนได้ดี ในสมัยก่อนแต่ละครอบครัวจะทำน้ำอบเองเพื่อใช้ในวันสงกรานต์ นาง ทิวาพร เสกตระกูล ผู้เชี่ยวชาญที่สืบทอดวิธีทำน้ำอบ-น้ำปรุงสูตรชาววังได้เผยว่า

น้ำอบเป็นเครื่องสำอางของคนไทยโบราณดีกว่า คุณลักษณะของน้ำอบไทยที่มันมีความพิเศษมากกว่าน้ำหอมของฝรั่ง ก็คือน้ำอบไทยมันสามารถที่จะผสมกับน้ำ แล้วให้กลิ่นหอมได้ แล้วก็สามารถหาซื้อได้ค่อนข้างง่าย ราคาก็ถูกกว่าน้ำหอมของฝรั่ง น้ำหอมของฝรั่งมันนำมาผสมกับน้ำไม่ได้นะคะ มั่นไม่เข้ากัน เพราะมันมีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์น้ำอบไทยมันเป็นน้ำ นี่คือความพิเศษของน้ำอบไทย ซึ่งเราทำให้น้ำนั้นมีความหอม น้ำต่อน้ำเมื่อมาผสมกันมันจึงกลมกลืนและเข้ากันได้ดี ก็เลยนำมาเล่นน้ำกันช่วงสงกรานต์เพราะเวลาสาดน้ำกันนอกจากอากาศเป็นร้อน ได้น้ำเย็นๆ นิดหนึ่งแล้วก็มีกลิ่นหอมของน้ำอบไทยอ่อนๆ มันก็จะทำให้รู้สึกบรรยากาศสดชื่น”

“น้ำอบไทย” – เครื่องหอมของคนไทยในเทศกาลสงกรานต์ - ảnh 2“น้ำอบ” คือน้ำที่มีกลิ่นหอมจากการอบควันกำยาน  แล้วนำมาผสมกับเครื่องหอมและสมุนไพรกลิ่นหอมชนิดต่างๆ

จากการศึกษาพบว่า เครื่องหอมต่างๆ เช่น ไม้สกุลกฤษณา น้ำมันไม้จันทน์ บาล์มและโลชั่นมีการใช้โดยพราหมณ์ตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1238 นาง ทิวาพร เสกตระกูล  เผยต่อไปว่า

“บันทึกจากพวกหนังสือพงศาวดารเก่าๆ เขาเขียนถึงเครื่องหอมต่างๆ เขาก็จะพูดว่า เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัยได้มีการบันทึกว่า พวกพราหมณ์นำพวกธูปน้ำมันจันทน์ น้ำมันหอม เครื่องทาผิวเข้ามา แล้วก็ได้มีการพูดถึงเรื่องนางนพมาศในสมัยสุโขทัยว่า ได้มีการใช้น้ำอบไทย ก็เลยเชื่อกันว่า น้ำอบไทยมีตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาเรื่อยมาแล้ว แล้วก็พอมาถึงรัชกาลที่ 5 เครื่องหอมไทยก็จะมีการเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟูมากขึ้น แต่ละตำหนัก ก็มีการทำเครื่องหอมประชันขันแข่งกัน ของใครจะหอมกว่าใคร ก็เป็นแต่ละสูตร แต่ละความลับของแต่ละตำหนัก ขึ้นชื่อเรื่องของความหอม ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ เรือนผม เสื้อผ้า กลิ่นกาย หอมไปหมดนะคะ”

การทำน้ำอบมีหลายขั้นตอนและต้องใช้เวลาพอสมควรโดยบางสูตรต้องใช้เวลาหลายวัน

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ คนไทยส่วนใหญ่จะซื้อน้ำอบแบบสำเร็จรูปมากกว่าที่จะทำเองเพื่อใช้ในการสรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่และขอพร ซึ่งทำให้เห็นว่าน้ำอบของไทยเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการต่อยอดในเชิงธุรกิจและยังคงได้รับการอนุรักษ์และสืบสานโดยคนไทย.

Feedback