ประสิทธิภาพจากโครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนในจังหวัดดั๊กลัก

Chia sẻ
(VOVWORLD) - นับตั้งแต่ที่ได้รับการปฏิบัติเมื่อปี 2012 มาจนถึงปัจจุบัน โครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนได้ช่วยให้เกษตรกรนับพันคนในจังหวัดดั๊กลักสามารถยกระดับผลผลิตและคุณภาพของสวนกาแฟ พร้อมทั้งเปิดแนวทางใหม่ให้แก่หน่วยงานการผลิตกาแฟ โดยทางการท้องถิ่นตั้งความหวังว่าจะขยายผลรูปแบบความร่วมมือนี้เพื่อพัฒนาสินค้าการเกษตรอื่นๆในจังหวัดอีกด้วย
ประสิทธิภาพจากโครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนในจังหวัดดั๊กลัก  - ảnh 1

หลังการปฏิบัติโครงการปลูกและผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนเป็นเวลากว่า 7 ปี นาย เจิ่นจ่องแค้ง ในตำบลกือเอบู นครบวนมาถวด จังหวัดดั๊กลัก ได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากโครงการดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น ผลผลิตของกาแฟได้เพิ่มขึ้น1.5 เท่าในขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลงเกือบ1ใน3 ราคาขายมีเสถียรภาพและสูงกว่าราคาในตลาดตั้งแต่ 1,000 ถึง 3,000 ด่งต่อกิโลกรัม นายแค้งบอกว่า เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้ เขาได้ลงทะเบียนเข้าร่วมและรับต้นกล้ากาแฟจากโครงการฯ มาปลูกแทนต้นกาแฟแก่ในพื้นที่ 2 เฮกตาร์ของครอบครัว พร้อมทั้งได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคและวิธีการดูแลสวนกาแฟตามมาตรฐาน 4C ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐาน Common, Code, Coffee และ Community โดยผู้ปลูกกาแฟต้องให้คำมั่นลดสารกำจัดศัตรูพืชให้เหลือน้อยที่สุดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและค้ำประกันบรรยากาศการทำงานให้แก่แรงงานอย่างดีที่สุด นาย แค้งกล่าวว่า “ในช่วงก่อน การปลูกกาแฟของครอบครัวได้ผลผลิตประมาณ 1.5 ตันต่อเฮกตาร์เท่านั้นซึ่งคิดว่ายังขาดประสิทธิภาพและรายได้ต่ำแต่หลังจากที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวของรัฐบาล พวกเราได้รับต้นกล้ากาแฟจากโครงการมาปลูกในสวนกาแฟและถึงขณะนี้สามารถปลูกได้7 ปีแล้วซึ่งก็เห็นประโยชน์คือ ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2 ถึง 2.5 ตันต่อเฮกตาร์

ก็เหมือนกับคุณแค้ง เกษตรกรปลูกกาแฟในจังหวัดดั๊กลักหลายคนได้เข้าร่วมโครงการปลูกและผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนนี้ โดยตั้งแต่ปี  2012  โครงการฯได้รับการปฏิบัติในท้องถิ่นที่สำคัญของจังหวัดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมครอบครัวที่ปลูกกาแฟมาเข้าร่วมกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้การช่วยเหลือในการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปลูกกาแฟและจัดสรรข้อมูลเกี่ยวกับตลาด พัฒนาสวนตัวอย่างเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่เกษตรกรในกลุ่ม สนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรเหล่านี้พัฒนาเป็นสหกรณ์แห่งการเชื่อมโยงและการให้บริการ โดยเฉพาะจะมีการเชื่อมโยงกับตลาดตามรูปแบบ “ซื้อร่วม ขายร่วม”โดยถึงปี 2017  ทางโครงการฯสามารถรวบรวมกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด63 กลุ่ม โดยมีครอบครัวเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 3,260 ครอบครัวในพื้นที่เกือบ 3,500 เฮกตาร์ พร้อมทั้งมีการจัดตั้งสหกรณ์ “เงวียนเจื่องถิง” ในอำเภอกรงปั๊กและ “เกวี๊ยดเตี๊ยน”ในอำเภอกือมการ์  นาย ฝามฟู้หงอก ตัวแทนของสำนักงานกาแฟ Nestlé เวียดนามสาขาเขตเตยเงวียนเผยว่า บริษัท Nestlé เวียดนามได้เดินหน้าในการเข้าร่วมโครงการฯ และตั้งแต่ปี 2010 มาจนถึงปัจจุบัน ทางบริษัทฯได้รับผลประโยชน์ในหลายด้าน ซึ่งได้นำประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่างๆเช่นกาแฟ โกโก้ ชา น้ำดื่มบรรจุขวด โดยเฉพาะโครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนนี้ได้เอื้อประโยชน์ให้แก่การปลูกกาแฟในจังหวัด ดั๊กลัก เขตที่ราบสูงเตยเงวียน เป็นอย่างมาก “ในความเป็นจริง โครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนได้เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทฯ เป็นอย่างมาก เพราะว่าเมื่อเข้าเป็นสมาชิก เรามีเครือข่ายกาแฟแบบห่วงโซ่คุณค่าNestcafe Plan ที่มีการเข้าร่วมของบรรดาสถานประกอบการกาแฟเวียดนาม ซึ่งจะสร้างคุณค่าร่วมกัน หมายความว่า ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น บริษัทอื่นๆที่เข้าร่วมโครงการสามารถประหยัดแหล่งพลังต่างๆ ส่วนเกษตรกรเมื่อเข้าร่วมโครงการก็จะต้องปลูกกาแฟตามรูปแบบอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้บริษัทของเรามีแหล่งจัดสรรกาแฟที่มีคุณภาพสูงเพื่อการผลิตและส่งออกไปยังประเทศต่างๆได้อย่างสะดวกมากขึ้น

นาย โงเญิน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเกษตรจังหวัด ดั๊กลัก ได้เผยว่า โครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนคือโครงการที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากต่อเกษตรกรโดยสามารถรวบรวมเกษตรกรที่มีความสามารถในเขตเข้าร่วมอย่างสมัครใจ “ในเวลาที่ผ่านมา จากจุดแข็งคือการปลูกกาแฟ เราได้มีความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน หวังว่าในอนาคตผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ผลไม้ ปศุสัตว์โดยเฉพาะสัตว์น้ำจะได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วนภายนอกเพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรปฏิบัติรูปแบบความร่วมมือนี้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

ในเวลาที่จะถึง ทางจังหวัดฯ จะผลักดันให้โครงการร่วมมือนี้ขยายผลต่อไปโดยเฉพาะในการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับสวนกาแฟนำร่องต่างๆ สนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มเกษตรกรหลักๆพร้อมกับแสวงหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนเกษตรกรในการผลิตสินค้าอื่นๆเช่นผลไม้ การเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น ตามรูปแบบโครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนต่อไป.

คำติชม