ผู้ที่มีส่วนร่วมอนุรักษ์เสียงฆ้องของชนเผ่าเอเดในตำบลกือเดอรัม

Chia sẻ

(VOVWORLD) -แม้จะเป็นชนเผ่ากิงแต่นาย เยืองวันทอในตำบลกือเดอรัม อำเภอกรงบง จังหวัดดั๊กลักมีความหลงไหลในเสียงฆ้องและการระบำรำฟ้อนของชาวเผ่าเอเด จากความประสงค์ที่จะอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าเอเดในเขตเตยเงวียน เขาได้ใช้เงินส่วนตัวเพื่อเชิญศิลปินมาสอนการตีจิงกรามหรือฆ้องไผ่และการระบำรำฟ้อนของชาวเอเดให้แก่เยาวชนและนักเรียนในตำบลกือเดอรัม

ผู้ที่มีส่วนร่วมอนุรักษ์เสียงฆ้องของชนเผ่าเอเดในตำบลกือเดอรัม - ảnh 1 นาย เยืองวันทอ (คนใส่เสื้อขาว) ศิลปิน อียุดเอบานและเด็กๆที่เข้าร่วมชั้นเรียน

 
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านหมู่บ้านจ่ามอา ตำบลกือเอกรัม อำเภอกรงบงได้คุ้นเคยกับเสียงฆ้องไผ่ที่คึกคักในบ้านยาวของครอบครัวนาย เยืองวันทอ จากการสอนของศิลปิน เด็กที่เข้าร่วมชั้นเรียนสามารถตีฆ้องได้อย่างคล่องแคล่ว เด็กชาย อีกนเอบาน ที่อาศัยในหมู่บ้านจ่ามอาได้เข้าร่วมชั้นเรียนสอนตีฆ้องตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้ว จากการให้กำลังใจของนาย เยืองวันทอ  เด็กชาย อีกนเอบานได้หันมาฝึกตีฆ้องจนมีความหลงไหลแทนการใช้เวลาเพื่อเล่นเกมส์ในร้านอินเตอร์เน็ต

ตอนแรกที่คุณทอมาบ้านของผม ผมไม่อยากเรียนตีฆ้องแต่คุณ ทอได้ให้กำลังใจ ผมก็เริ่มเรียนและสามารถตีฆ้องได้ ผมอยากอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าผม”

ส่วนสำหรับเด็กชาย เยืองวันตู๊ คุณพ่อเป็นผู้ที่จุดประกายความรักฆ้องให้ ซึ่งช่วยให้เขาสามารถเรียนการตีฆ้องจากศิลปินได้อย่างรวดเร็ว

“ในช่วงที่เริ่มเรียน ผมรู้สึกว่า การเรียนตีฆ้องยากมากเพราะเห็นว่า มีแต่ผู้สูงอายุเล่นเท่านั้น หลังจากที่คุณครูสอนให้ พวกผมสามารถเล่นจิงกรามเป็นแล้ว”

ผู้ที่มีส่วนร่วมอนุรักษ์เสียงฆ้องของชนเผ่าเอเดในตำบลกือเดอรัม - ảnh 2ศิลปิน อียุดเอบาน กำลังสอนการระบำรำฟ้อนและการตีฆ้องให้แก่เด็กๆ 

ศิลปิน อียุดเอบานในตำบลกือปุย อำเภอกรงบง จังหวัดดั๊กลักเป็นผู้ที่สอนตีฆ้องให้แก่เด็กๆ โดยเขาก็ทำเป็นตัวอย่างและแนะนำให้แก่เด็กๆทำตาม ซึ่งการสอนตีฆ้องไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะการตีฆ้องไม่ใช่การบรรเลงเดี่ยวแต่ต้องบรรเลงเป็นวง   ตอนแรก นาย อียุดไม่มีความมั่นใจในการเปิดชั้นเรียนของนาย ทอแต่เมื่อเห็นนายทอมารณรงค์ให้ประชาชนอนุญาตให้ลูกๆไปเรียนตีฆ้องและยอมออกเงินส่วนตัวเพื่อซื้อเครื่องดนตรีให้เด็กๆฝึก มีบางทีที่ฝนตกหนัก เด็กๆไม่สามารถไปเรียนได้ นาย ทอก็มารับเด็กที่บ้าน ซึ่งทำให้นายอียุดสนับสนุนและพยายามสอนการตีฆ้องให้แก่เด็กๆอย่างเต็มที่

“เมื่อนายทอบอกว่า จะเปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องให้แก่เด็กๆและเชิญผมเป็นครูสอน ผมก็ไม่เชื่อแต่หลังจากนั้น ผมก็รับปาก นายทอได้ใช้เงินส่วนตัวเพื่อเปิดชั้นเรียนให้แก่เด็กๆ   ซึ่งเมื่อผมเห็นเช่นนั้น ผมก็ยินดีมาสอนเด็กๆ”

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา กลุ่มฆ้องมีเด็กผู้ชายที่มีอายุ 12  -17 ปีที่มีทักษะความสามารถและมีความหลงไหลในการตีฆ้องและสามารถตีฆ้องตามบทเรียนต่างๆ เช่น การรับแขกและการเชิญดื่มเหล้า ปัจจุบัน กลุ่มฆ้องยังคงฝึกตีฆ้อง 1-2 วันต่อสัปดาห์ นาย เยืองวันทอเผยว่า นี่เป็นความสุขของเขา ในตลอดเกือบ 30 ปีที่ผูกพันกับหมู่บ้านและเป็นลูกเขยของชาวเอเด เขาเห็นว่า วัฒนธรรมชนเผ่าเอเดในท้องถิ่นกำลังจะสูญหายไปจึงมีความประสงค์ว่า จะหาทางเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมชนเผ่าเอเดให้แก่ลูกหลาน ซึ่งเขาหวังว่า สมาชิกของกลุ่มจะมีส่วนร่วมอนุรักษ์เสียงฆ้องของชนเผ่าเอเดต่อไป

“ในช่วงแรก ผมแค่คิดถึงหมู่บ้านและเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองและกังวลว่า คนรุ่นหลังจะไม่รู้เกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตน ผมคิดว่า ผู้ที่เข้าร่วมชั้นเรียนนี้จะตีฆ้องเก่งและสอนให้แก่เด็กคนอื่นๆได้    ผมหวังว่า ผู้ที่หลงใหลดนตรีเตยเงวียนจะร่วมกับผมเปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้อง”

การเปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องและการระบำรำฟ้อนในบ้านเป็นรูปแบบใหม่ที่ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่อำเภอกรงบง มีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของประชาชน โดยเฉพาะ ชนเผ่าเอเดในท้องถิ่นในการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ มีส่วนช่วยให้เด็กๆมีโอกาสเข้าถึงเครื่องดนตรีพื้นเมือง จุดประกายความรักและการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมการตีฆ้อง.

คำติชม