นาย เลดึ๊กเถาะ ที่ปรึกษาสำคัญในการเจรจาปารีสครั้งประวัติศาสตร์

Anh Huyen
Chia sẻ
(VOVWORLD) -ในตลอดชีวิตการปฏิวัติ นายเลดึ๊กเถาะ ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าคณะกรรมการองค์การให้คำปรึกษาส่วนกลางพรรคฯ ผู้ล่วงลับ ได้ต่อสู้ในสมรภูมิภาคใต้เพื่อต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกาเพื่อกู้ชาติและดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ภายในพรรคฯ โดยเฉพาะมีส่วนร่วมสำคัญในการเป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะเจรจาของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามในการประชุมปารีสเมื่อปี 1973 เกี่ยวกับการยุติสงคราม สร้างสันติภาพในเวียดนาม
 
นาย เลดึ๊กเถาะ ที่ปรึกษาสำคัญในการเจรจาปารีสครั้งประวัติศาสตร์ - ảnh 1นาย เลดึ๊กเถาะ และนาย Henry Kissinger (TTXVN)

เมื่อเดือนเมษายนปี 1968 ประธานโฮจิมินห์ได้เรียกนาย เลดึ๊กเถาะ ซึ่งในขณะนั้นกำลังดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการส่วนกลางของกรมภาคใต้ กลับกรุงฮานอยเพื่อเดินทางไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และให้ดำรงตำแหน่ง “ที่ปรึกษาพิเศษ” ของคณะผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งเป็นชื่อในอดีตของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในปัจจุบันที่เจรจาโดยตรงกับตัวแทนของสหรัฐเกี่ยวกับการยุติสงคราม สร้างสันติภาพในเวียดนาม

ในฐานะ “ที่ปรึกษาพิเศษ” ของคณะผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ผ่านการเจรจาลับและการเจรจาเปิดหลายนัด ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและในการชี้นำเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะออกแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน นาย เลดึ๊กเถาะ ได้มีส่วนร่วมสำคัญช่วยให้ประชาชนหัวก้าวหน้าในทั่วโลกเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสงครามที่ไม่เป็นธรรมของสหรัฐในเวียดนาม โดยเฉพาะในการเจรจาลับทุกครั้งกับนาย Kissinger ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีสหรัฐ และบนโต๊ะเจรจาทุกครั้ง นาย เลดึ๊กเถาะ ต่างแสดงเจตนาที่ดีของประชาชนเวียดนามว่า อยากยุติสงครามและสร้างสันติภาพในเวียดนาม พร้อมทั้งยืนยันจุดยืนของประชาชนเวียดนามคือยืนหยัดต่อสู้เพื่อเอกราชของประชาชาติและรวมประเทศเป็นเอกภาพ

นาย เลดึ๊กเถาะ ที่ปรึกษาสำคัญในการเจรจาปารีสครั้งประวัติศาสตร์ - ảnh 2นาย ดั๋งหว่างยาง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (TTXVN)

นาย เหงียนยวีเนียน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้กล่าวเกี่ยวกับนาย เลดึ๊กเถาะว่าในตลอดเกือบ 5 ปีที่เจรจาในกรุงปารีส นาย เลดึ๊กเถาะ ทำหน้าที่เหมือนนายพลในสมรภูมิรบ โดยท่านมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นฝ่ายรุกในการต่อสู้เพื่อบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามต้องเจรจาตามวิธีการของท่าน ส่วนนาย ดั๋งหว่างยาง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เผยว่า บนโต๊ะเจรจา นาย เลดึ๊กเถาะ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องเกรงใจเนื่องจากความเฉลียวฉลาดของนักการทูตที่มากด้วยประสบการณ์

“ในกระบวนการเจรจาข้อตกลงปารีส ถ้าหากเปรียบเทียบกับสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศที่มีประสบการณ์เป็นอย่างมากในการเจรจาและมีความแข็งแกร่งทางทหารและทางการทูต ในขณะที่เวียดนามเป็นประเทศเล็กที่ขาดประสบการณ์ทางการทูต ส่วนนาย Kissinger เป็นผู้ที่มากด้วยประสบการณ์ในหน่วยงานการทูตของสหรัฐและโลก แต่ก็ต้องยอมรับข้อโต้แย้งของนาย เลดึ๊กเถาะ ที่มีความมุ่งมั่น ทักษะความสามารถและความเฉลียวฉลาด”

ในการต่อสู้ทางปัญญาครั้งนี้ สหรัฐได้พยายามชะลอการลงนามข้อตกลงปารีสโดยมีการเรียกร้องที่ยากจะยอมรับได้สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามและสาธารณรัฐภาคใต้เวียดนาม ในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศ Kissinger ออกคำเรียกร้องที่ไร้เหตุผลต่างๆ ขู่ที่จะยุติการเจรจาและเดินหน้าทำการทิ้งระเบิดอีกครั้ง นาย เลดึ๊กเถาะ ก็ยังตอบโต้อย่างแข็งกร้าวว่า “เราต่อสู้กับพวกคุณกว่า 10 ปีแล้วและเจรจา 5 ปีแล้ว ตอนนี้ คุณพร้อมแล้ว จึงจะแก้ไขได้ ข่มขู่เราไม่ได้”

บนโต๊ะเจรจา นาย เลดึ๊กเถาะ แสดงความมุ่งมั่น สติปัญญา ยืนหยัดหลักการณ์และความยืดหยุ่นเชิงกลยุทธ์ แต่ในการประชุมลับกับนาย Kissinger นายเลดึ๊กเถาะ ได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการโตแย้ง มีความใจเย็น คล่องตัวและแข็งกร้าวเมื่อจำเป็น รองศ.ดร. บุ่ยดิ่งฟอง จากสถาบันรัฐศาสตร์แห่งชาติโฮจิมินห์ยืนยันว่า

“สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความเฉลียวฉลาดของนาย เลดึ๊กเถาะ คือเข้าใจศัตรูก ดั่งที่รัฐมนตรี Kissinger บอกว่า “เข้าใจความคิดของฝ่ายตรงข้าม” ดังนั้น ทักษะความสามารถของนายเถาะในด้านการทูตคือเป็นฝ่ายรุกโจมตีศัตรูแต่ก็มีความคล่องตัวในการต่อสู้บนเวทีการทูต”

เวียดนามได้รับชัยชนะในการลงนามข้อตกลงปารีส ซึ่งมีส่วนร่วมไม่น้อยของนาย เลดึ๊กเถาะ กระบวนการเจรจาข้อตกลงปารีสเป็นกระบวนการเจรจาที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของหน่วยงานการทูต เป็นเสียงแห่งสันติภาพที่ก้องกังวานในประชามติโลก ภาพถ่ายนาย เลดึ๊กเถาะ ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ใหญ่ๆ ในสหรัฐและฝ่ายตะวันตก

หลายสิบปีได้ผ่านพ้นไปแต่นิมิตหมายที่นาย เลดึ๊กเถาะ สร้างในการเจรจาข้อตกลงปารีสเมื่อปี 1973 ถือเป็นนิมิตหมายสำคัญของหน่วยงานการทูตเวียดนามที่ยังคงทรงคุณค่าถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะถือเป็นบทเรียนสำหรับการปฏิบัติภารกิจผสมผสานเข้ากับกระแสโลกของเวียดนามในปัจจุบัน.

คำติชม