อาเซียนมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก

Chia sẻ
(VOVWORLD) -ทะเลตะวันออกเป็นเขตทะเลเชิงยุทธศาสตร์ในเอเชีย ซึ่งนับวันได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งเขตนี้ยังมีการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างบรรดาประเทศมหาอำนาจรุนแรงมากขึ้น ในเวลาที่ผ่านมา บรรดาประเทศริมฝั่งทะเลตะวันออก โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียนได้แสดงทัศนะและจุดยืนทางนิตินัยต่อทะเลตะวันออกผ่านหนังสือทางการฉบับต่างๆที่ยื่นต่อสหประชาชาติและการออกแถลงการณ์ที่เป็นรูปธรรมต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศต่างๆนับวันเชิดชูบทบาทและคุณค่าของกฎหมายสากลมากขึ้น รวมทั้งบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก
อาเซียนมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก - ảnh 1 นาย เหงียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม (Photo VNplus)

ทะเลตะวันออกคือเขตที่หลายประเทศในภูมิภาคและนอกภูมิภาคนี้ต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันเพราะเป็นเขตยุทธศาสตร์ทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจ มีการเดินเรือเพื่อการค้าขายอย่างเสรี ซึ่งทุกประเทศต่างต้องการให้มีการค้ำประกันการเปิดเสรีในการเดินเรือและการค้าในภูมิภาคนี้ ส่วนสำหรับบรรดาประเทศอาเซียน ทะเลตะวันออกมีบทบาทสำคัญเป็นพิเศษเพราะประเทศสมาชิกเกือบทั้งหมดได้รับผลประโยชน์ในเขตทะเลนี้

มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในระดับสูงในทัศนะและจุดยืน

เมื่อกล่าวถึงสถานการณ์ทะเลตะวันออกในเวลาที่ผ่านมา หลายคนได้แสดงความคิดเห็นว่า นี่คือปัญหาที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของบรรดาประเทศมหาอำนาจเลวร้ายมากขึ้นโดยการเพิ่มการเคลื่อนไหวและขยายขอบเขตการควบคุมทะเลตะวันออกของจีนในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ส่งผลให้รัฐบาลและประเทศต่างๆ โดยเฉพาะบรรดาประเทศอาเซียนได้ออกมาคัดค้านอย่างเข้มแข็ง โดยได้ส่งหนังสือทางการถึงสหประชาชาติเพื่อแสดงจุดยืนทางนิตินัยต่อทะเลตะวันออก ดร. ฝ่ามลานยุง รักษาการผู้อำนวยการสถาบันการทูตเวียดนามได้แสดงความคิดเห็นว่า นี่เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในระดับสูงของอาเซียนต่อการเชิดชูกฎหมายสากลในการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก            “การยื่นหนังสือที่สะท้อนหลักการทางนิตินัยได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศต่างๆนับวันให้ความสำคัญต่อบทบาทและคุณค่าของกฎหมายสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS 1982 อันเป็นการยืนยันถึงคุณสมบัติสากลและเสมอต้นเสมอปลายของอนุสัญญาฉบับนี้ ซึ่งได้สร้างกรอบทางนิตินัยให้แก่ปฏิบัติการต่างๆในทะเลและมหาสมุทร นี่คือปฎิบัติการที่สะท้อนจิตใจแห่งการให้ความเคารพกฎหมายที่ประชาคมระหว่างประเทศต้องการเห็น

จากการตระหนักได้ดีว่า ทะเลตะวันออกคือหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับประชาคมอาเซียนถึงปี 2025 ดังนั้น อาเซียนได้มีก้าวเดินที่สะท้อนทัศนะที่ชัดเจนมากขึ้นต่อการวางแผนแก้ไข พร้อมทั้งพยากรณ์ผลกระทบต่ออาเซียน ตลอดจน ย้ำถึงบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 36 และ 37  ปัญหาทะเลตะวันออกได้รับความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์จากบรรดาผู้นำอาเซียน โดยถือว่า หลักนิตินัยเป็นพื้นฐานเพียงอย่างเดียวเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆในทะเลตะวันออกคือ UNCLOS 1982 ทุกประเทศได้เห็นพ้องเร่งผลักดันกระบวนการเจรจาและประกาศหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีโดยเร็วเพื่อเป็นหลักการควบคุมการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อภูมิภาคทะเลตะวันออกที่สันติภาพ เสถียรภาพและเจริญรุ่งเรืองและสิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ อาเซียนมักจะย้ำถึงบทบาทการเป็นศูนย์กลางในสภาวการณ์การแข่งขันระหว่างบรรดาประเทศมหาอำนาจที่นับวันรุนแรงมากขึ้น นาย เหงียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามแสดงความคิดเห็นว่า            “บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถกำหนดได้ว่า จะไม่เลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากถือผลประโยชน์ของอาเซียนเป็นหลัก จากทัศนะที่ชัดเจนอย่างนี้ อาเซียนมีจุดยืนของตนเองในปัญหาระดับภูมิภาคและโลก รวมทั้งปัญหาทะเลตะวันออก นี่คือวิธีการของอาเซียนในการธำรงบทบาทการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค

อาเซียนมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก - ảnh 2 นักข่าวชาวอินเดีย Rudroneel Ghost

อาเซียนมีบทบาทสำคัญ

ปัจจุบันนี้ ปัญหาทะเลตะวันออกกำลังเป็นหนึ่งในปัญหาด้านภูมิศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในโลก และเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากมีผลประโยชน์ที่สอดแทรกกันอย่างซับซ้อนและมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงถึงบรรดาประเทศอาเซียนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะว่า อาเซียนกำลังพัฒนาเป็นศูนย์กลางแห่งการขยายตัวของโลก ดังนั้น ถ้าหากปัญหาทะเลตะวันออกไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องตามกฎหมายสากลและระเบียบโลก ก็จะส่งผลกระทบในทางลบต่อทั้งภูมิภาค ดังนั้น อาเซียนต้องธำรงบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาในทะเลตะวันออกมากขึ้น นักข่าวชาวอินเดีย Rudroneel Ghost แสดงความคิดเห็นว่า “ภูมิภาคอาเซียนมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ถ้าหากมองในแง่ภูมิศาสตร์ทางการเมือง ดุลอำนาจของโลกกำลังย้ายจากตะวันตกไปยังตะวันออก นั่นคือสาเหตุที่แสดงให้เห็นว่า ทำไมปัญหาความมั่นคงและการเมืองที่ใหญ่ที่สุดกำลังอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก สิ่งที่สำคัญคือภูมิภาคนี้ต้องมีกฎระเบียบที่อาศัยกฎหมายสากลโดยทุกคนต้องให้ความเคารพกฎหมายสากลและอธิปไตยของประเทศอื่นๆ

อาเซียนได้ยืนยันหลายครั้งเกี่ยวกับจุดยืนที่เสมอต้นเสมอปลายที่เชิดชูจิตใจการให้ความเคารพกฎหมาย ส่งเสริมการสนทนา สร้างความไว้วางใจกัน มีความอดกลั้น ไม่มีปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์ซับซ้อนมากขึ้น ใช้สันติวิธีเพื่อแก้ไขการพิพาทและความแตกต่างกันบนพื้นฐานกฎหมายสากลและ UNCLOS 1982 พยายามปฏิบัติดีโอซีอย่างสมบูรณ์และจริงจังและพยายามสร้างสรรค์ซีโอซีให้มีความสมบูรณ์ ซึ่งสิ่งที่อาเซียนทำในเวลาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า อาเซียนนับวันมีความสามัคคี มีพลังที่เข้มแข็งในการรับมือความท้าทายต่างๆ รวมทั้งปัญหาทะเลตะวันออกมากขึ้น.

คำติชม