ต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามคำมั่นและ UNCLOS 1982 เพื่อลดการทวีความตึงเครียดในทะเลตะวันออก

Huyen
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันวิจัยภูมิรัฐศาสตร์หรือ EGA ได้จัดการสัมมนาเกี่ยวกับทะเลตะวันออก ณ อาคารของวุฒิสภาฝรั่งเศสในกรุงปารีส  โดยมีเจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศส ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์ทางทหารและนโยบายด้านกลาโหมเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก การสัมมนาได้ยืนยันอีกครั้งถึงความสำคัญของการให้ความเคารพและการปฏิบัติตามคำมั่นของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ UNCLOS ปี 1982
ต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามคำมั่นและ UNCLOS 1982 เพื่อลดการทวีความตึงเครียดในทะเลตะวันออก - ảnh 1(baoquocte.vn)

ตามรายงานของฝ่ายจัดการสัมมนา ทะเลตะวันออกเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและกลายเป็นจุดร้อนของโลกได้ง่าย ดังนั้น ประเทศต่างๆ รวมทั้งฝรั่งเศสต้องมีความเข้าใจอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของภูมิภาค ความเสี่ยงและความท้าทายที่ต้องเผชิญ การสัมมนาไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาโดยตรง แต่ต้องการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ UNCLOS 1982 เพื่อมีส่วนร่วมในการลดปัญหาที่จะทวีความตึงเครียดในทะเลตะวันออก

ความท้าทายในทะเลตะวันออก

การสัมมนาภายใต้หัวข้อ “ทะเลตะวันออก: พื้นที่หลายมิติจากความท้าทายระดับโลก” ได้กล่าวถึง4 ประเด็น ได้แก่ บรรยากาศของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกภายใต้อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ UNCLOS ปี 1982  ทะเลตะวันออก-ศูนย์กลางด้านความมั่นคง ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตใน และประเด็นที่4คือ เวทีการเมืองที่หลากหลายในภูมิภาคและบทบาทของฝรั่งเศส ในการสัมมนา บรรดาผู้แทนได้นำเสนอข้อมูลที่มีภาววิสัยและเตือนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในทางลบที่อาจเกิดขึ้นในทะเลตะวันออก อีกทั้ง ย้ำถึงความสำคัญของการค้ำประกันสันติภาพ เสถียรภาพ ความปลอดภัยและเสรีภาพในการเดินเรือในทะเลตะวันออก ความจำเป็นที่ต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตาม UNCLOS 1982 คำมั่นของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เช่น แถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีปี 2002

บรรดาผู้แทนยังเรียกร้องให้ฝรั่งเศส สหภาพยุโรปหรืออียูและโลกส่งเสริมบทบาทในการแก้ไขความขัดแย้งและการพิพาทในภูมิภาคบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ให้ความเคารพ UNCLOS 1982 และขยายกรอบความร่วมมือในทุกด้านในภูมิภาค

UNCLOS 1982 - พื้นฐานทางนิตินัยที่สำคัญเพื่อรักษาเสถียรภาพในทะเลตะวันออก

การจัดทำ UNCLOS ปี 1982 ได้สร้างพื้นฐานเพื่อจัดตั้งระเบียบทางทะเลระหว่างประเทศ เนื่องจากอนุสัญญาฉบับนี้กำหนดหลักการทั่วไปและแนวทางที่เป็นละเอียดอย่างชัดเจนเพื่อแก้ไขการพิพาททางทะเล

ผ่าน UNCLOS ปี 1982 ได้มีการจัดตั้งกลไกต่างๆเพื่อแก้ไขการพิพาททางทะเล เช่น คณะกรรมาธิการไกล่เกลี่ย โดยเฉพาะ ศาลอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ ITLOS และ นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการอนุมัติและบังคับใช้จริงกลไกแก้ไขการพิพาทผ่านการเจรจาไกล่เกลี่ยและกลไกด้านอนุญาโตตุลาการ ซึ่งกลไกนี้ได้มีส่วนร่วมธำรงการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ UNCLOS ปี1982 ในพื้นที่ทะเล อีกทั้ง สร้างพื้นฐานเพื่อให้ประเทศต่างๆแก้ไขการพิพาททางทะเลอย่างสันติ

ต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามคำมั่นและ UNCLOS 1982 เพื่อลดการทวีความตึงเครียดในทะเลตะวันออก - ảnh 2บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการสัมมนาในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (AFP)

ตามกลไกของ UNCLOS 1982 ประเทศที่เป็นภาคีของ UNCLOS มีสิทธิ์เลือกหนึ่งกลไกหรือมากกว่าเพื่อแก้ไขการพิพาท เช่น ITLOS ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือ ICJ และการจัดตั้งศาลอนุญาโตตุลาการตามภาคผนวกที่ 7 หรือภาคผนวกที่ 8 ของ UNCLOS 1982  อย่างเช่น ITLOS คือสำนักงานแก้ไขการพิพาทตาม UNCLOS 1982 ที่มีสิทธิอำนาจศาล รวมทั้งข้อพิพาทุกข้อที่เกี่ยวข้องกับการตีความและการใช้อนุสัญญาฯ ในทางเป็นจริง นับตั้งแต่จัดทำ UNCLOS ปี 1982 เป็นต้นมา ITLOS ได้รับและดำเนินการแก้ไขกรณีพิพาทประมาณ 30 กรณี ตั้งแต่เรื่องการทำประมงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ไปจนถึงการกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนทางทะเล ICJ ได้รับดำเนินการแก้ไขประมาณ 20 กรณี ในขณะที่ศาลอนุญาโตตุลาการที่ได้รับการจัดตั้งตามภาคผนวก 7 ได้ดำเนินคดีกว่า 10 คดี

จากการบังคับใช้ในสถานการณ์ที่เป็นจริงนี้ UNCLOS ปี1982 จึงได้กลายเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งช่วยให้ประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบัน UNCLOS 1982 สามารถอ้างอิงและใช้ในการจัดทำนโยบายทางทะเลของประเทศตน ตลอดจนการแก้ไขการพิพาทและความขัดแย้ง ดังนั้นสามารถยืนยันได้ว่า จนถึงขณะนี้ UNCLOS 1982 คือกรอบทางนิตินัยฉบับเดียวสำหรับทุกกิจกรรมทางทะเลของประเทศต่างๆ ในโลก จึงมักถูกอ้างอิงและนำไปใช้เพื่อแก้ไขการพิพาททางทะเลในโลก รวมถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งมีจุดร้อนหลายแห่งเกี่ยวกับการพิพาททางทะเล เช่น ทะเลตะวันออกและทะเลหัวตุ้ง

ตามหัวข้อการสัมมนาคือ “ทะเลตะวันออก: พื้นที่หลายมิติจากความท้าทายระดับโลก” ทะเลตะวันออกนับวันยืนยันว่า ไม่เพียงแต่เป็นบ้านที่อยู่ร่วมกันของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเท่านั้น หากยังเป็นความสนใจของประชาคมโลกอีกด้วย การสัมมนาได้ชี้แจงและยืนยันอีกครั้งว่า สันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนในทะเลตะวันออกต้องได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ใช่เฉพาะประเทศในภูมิภาคเท่านั้น โดยการให้ความเคารพและปฏิบัติตาม UNCLOS 1982 เป็นเงื่อนไขชี้ขาดในทุกการปฏิบัติ.

คำติชม