ความทะเยอทะยานของเขตเชงเก้นและความท้าทายจากโควิด-19

Vân
Chia sẻ
(VOVWORLD) - สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กำลังมีสัญญาณที่ดีขึ้นภายในภูมิภาคและหลายประเทศในยุโรปได้เริ่มยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์และฟื้นฟูกิจกรรมต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม นั่นคือปัญหาเฉพาะของแต่ละประเทศ ส่วนในระดับภูมิภาคนั้น ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับช่วงเวลาเปิดจุดผ่านแดนภายในกลุ่มอีกครั้ง ซึ่งความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ข้อตกลงเชงเก้น (Schengen) ที่อนุญาตให้พลเมืองอียูสามารถเดินทางภายในกลุ่มได้อย่างเสรีกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง
ความทะเยอทะยานของเขตเชงเก้นและความท้าทายจากโควิด-19 - ảnh 1ตำรวจเบลเยียมตรวจตราในเขตชายแดนที่ติดกับฝรั่งเศส (AFP) 

เมื่อต้นเดือนเมษายนปี 2020 คณะกรรมาธิการยุโรปหรืออีซีได้เสนอให้ปิดจุดผ่านแดนอียูและเขตเชงเก้นจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคมซึ่งจนถึงวันนี้ก็ได้เลยเวลาที่ต้องเปิดจุดผ่านแดนมาแล้ว 1 สัปดาห์ ในขณะเดียวกัน คาดว่า เศรษฐกิจของอียูอาจหดตัวลงถึงร้อยละ 10 ในปีนี้ ซึ่งเป็นภาวะถดถอยต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 1920

ความขัดแย้งในการเปิดจุดผ่านแดนครั้งใหม่

ในการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา บรรดารัฐมนตรีการท่องเที่ยวของสหภาพยุโรปหรืออียูได้หารือเกี่ยวกับกระบวนการเปิดจุดผ่านแดนครั้งใหม่ในฤดูร้อนตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยุโรปหรืออีซี โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดีขึ้นได้สร้างพลังขับเคลื่อนเพื่อให้ประเทศต่างๆมุ่งสู่การหารือเกี่ยวกับการเปิดจุดผ่านแดนอีกครั้งและฟื้นฟูภาคหน่วยงานการท่องเที่ยวหลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาด

แต่อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีของ 27 ประเทศสมาชิกอียูไม่สามารถบรรลุความเห็นพ้องเนื้อหาทั้งหมดของแผนการที่อีซีเป็นผู้เสนอ นาย Gari Capelli รัฐมนตรีการท่องเที่ยวโครเอเชียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนอียูได้แสดงความเห็นว่า ต้องหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ “มาตรการด้านการท่องเที่ยว” เพราะยุโรปไม่สามารถรับความเสี่ยงได้อีกหลังจากผ่านการล็อกดาวน์ที่ยาวนานกว่า 1 เดือน ประเทศต่างๆต้องเปิดเขตชายแดนครั้งใหม่อย่างมีความรับผิดชอบผ่านการลงนามข้อตกลงทวิภาคี โดยเฉพาะระหว่างประเทศที่มีการแพร่ระบาดในระดับเดียวกันเพื่อค้ำประกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหม่ สำหรับประเทศที่เกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงจำเป็นต้องมีความระมัดระวังมากขึ้นและควรเปิดชายแดนหลังประเทศอื่นๆ

ฝรั่งเศสเรียกร้องให้มีการประสานงานระหว่างประเทศต่างๆ เป้าหมายของทางการปารีสคือเปิดเขตชายแดนภายในกลุ่มอียูตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน แต่ต้องค้ำประกันไม่ให้มีการเปิดชายแดนในระดับที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกัน เยอรมนีก็อยากหารืกับ 11 ประเทศทางใต้ของอียูเกี่ยวกับวิธีการประสานงานเพื่อเปิดชายแดนอีกครั้ง

อาจกล่าวได้ว่า ขณะนี้ ประเทศต่างๆในเขตเชงเก้นกำลังปฏิบัติมาตรการเปิดจุดผ่านแดนแบบต่างคนต่างทำ

สามัคคีเป็นปัจจัยหลักของเขตเชงเกน

ความขัดแย้งในการเปิดจุดผ่านแดนภายในกลุ่มอียูไม่ได้ทำให้ประชามติเกิดความตกใจ แต่ เขตนี้ต้องมีวิธีการเข้าถึงที่เป็นเอกฉันท์ ดังนั้น อียูจึงได้จัดทำหลักการร่วมสำหรับประเทศสมาชิกในกระบวนการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ นำกิจกรรมเศรษฐกิจสังคมกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยการยกเลิกการปิดจุดผ่านแดนจะใช้ในสถานที่ที่ถูกระบุว่า มีเงื่อนไขที่สมบูรณ์ด้านควบคุมการระบาด

ประธานอีซี เออร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน (Ursula von der Leyen) ได้เรียกร้องให้ 27 ประเทศสมาชิกของอียูประสานงานเพื่อยกเลิกมาตรการควบคุมต่างๆ และเตือนว่า การประสานงานที่ไม่พร้อมเพรียงในการยกเลิกการจำกัดจะสร้างความเสี่ยงให้แก่ทุกประเทศสมาชิกและอาจสร้างความตึงเครียดระหว่างประเทศ เมื่อเริ่มเกิดการแพร่ระบาด หลายประเทศสมาชิกอียูได้ปิดชายแดนหรือจำกัดการเดินทางโดยไม่แจ้งให้รับทราบล่วงหน้า นาง เออร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน หวังว่า การเปิดจุดผ่านแดนของประเทศต่างๆอีกครั้งในเวลาที่จะถึงจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นระบบมากขึ้น

ส่วนบรรดาผู้เชี่ยวชาญให้ข้อสังเกตว่า ยุโรปยังขาดความสามัคคีในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 โดยแต่ละประเทศได้ปฏิบัติมาตรการที่แตกต่างกันในการเปิดจุดผ่านแดนอีกครั้งใหม่ ดังนั้น ยุโรปจำเป็นต้องมีผู้นำในการปฏิบัติเรื่องนี้ นาย Enrico Letta หัวหน้าสถาบันให้คำปรึกษา Jacques Delors ของสหภาพยุโรปหรืออียูเคยตำนิผ่านทางสถานีวิทยุ France Info ของฝรั่งเศสว่า อียูควรมีการประสานงานในการเปิดจุดผ่านแดนภายในกลุ่ม แต่บรรดาประเทศสมาชิกไม่อยากมอบอำนาจให้อียูตัดสินใจปัญหาที่ตนสามารถทำเองได้

ข้อตกลงเชงเก้นถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในกระบวนการผสมผสานของยุโรปในตลอด 35 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น การฟื้นเขตเชงเก้นจะมีขึ้นโดยเร็วอย่างแน่นอน แต่ความยั่งยืนในการเดินทางอย่างเสรีระหว่างประเทศสมาชิกเชงเก้นจะต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆต่อไป.

คำติชม