กระบวนการสันติภาพในลิเบีย-ความหวังและความท้าทาย

Bá Thi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - วิกฤตในลิเบียซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดร้อนของแอฟริกาและโลกในหลายเดือนที่ผ่านมาได้บรรลุความคืบหน้าที่สำคัญเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นการเปิดความคาดหวังในการยุติการปะทะที่นองเลือดที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2019 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2 พัน 2 ร้อยคนและมีประชาชนต้องละทิ้งบ้านเรือนอพยพกว่า 1 แสน 7 หมื่นคน แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์ได้เตือนว่า ยังเร็วเกินไปที่จะตั้งความหวังเกี่ยวกับสันติภาพที่แท้จริงให้แก่ประเทศลิเบีย
กระบวนการสันติภาพในลิเบีย-ความหวังและความท้าทาย - ảnh 1ทูตพิเศษของสหประชาชาติในลิเบีย Ghassan Salame เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ António Guterres นายกรัฐมนตรีเยอรมนี Angela Merkel และรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี Heiko Maas ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมสันติภาพระหว่างประเทศเกี่ยวกับลิเบียในกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่19 มกราคม ปี 2020 (AFP)

ภายหลังความพยายามเป็นอย่างมากของนานาประเทศ โดยเฉพาะรัสเซียและเยอรมนี การประชุมสันติภาพระหว่างประเทศเกี่ยวกับลิเบียได้มีขึ้น ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยมีผู้นำจาก 11 ประเทศ เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศใหญ่ๆ เช่นสหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกาและสันนิบาตอาหรับเข้าร่วม ที่น่าสนใจคือ การประชุมได้บรรลุผลงานสำคัญโดยทุกฝ่ายได้เห็นพ้องเกี่ยวกับมาตรการทางการเมืองเพื่อแก้ไขการปะทะ

คำมั่นระหว่างประเทศและความคาดหวังเกี่ยวกับการยุติการปะทะ

ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังการประชุมเมื่อค่ำวันที่ 19 มกราคม นายกรัฐมนตรีเยอรมนี  อังเกลา แมร์เคิล ได้ยืนยันว่า หลังกระบวนการเจรจาที่เคร่งครัดและสร้างสรรค์ ทุกฝ่ายได้บรรลุความเห็นพ้องเกี่ยวกับมาตรการทางการเมืองในทุกด้านเพื่อแก้ไขวิกฤตในลิเบีย อีกทั้งเชื่อมั่นว่า นี่คือก้าวเดินแรกเพื่อนำสันติภาพมาให้แก่ประชาชนลิเบีย โดยถึงแม้ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ทันที แต่การประชุมนี้ได้สร้างความมุ่งมั่นให้แก่ทุกฝ่ายเพื่อมุ่งสู่ก้าวเดินต่อไป รวมทั้งความเห็นพ้องเกี่ยวกับกระบวนการที่มีข้อผูกมัดและความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่จัดทำและบังคับใช้ข้อตกลงหยุดยิงที่สมบูรณ์

ในการประชุม ประเทศต่างๆได้ให้คำมั่นว่า จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศลิเบียและให้ความเคารพคำสั่งห้ามสนับสนุนอาวุธให้แก่ลิเบียซึ่งสหประชาชาติได้อนุมัติเมื่อปี 2011

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ การที่ประเทศต่างๆให้คำมั่นผลักดันสันติภาพ ยุติการแทรกแซงและไม่ส่งอาวุธให้แก่ลิเบียจะช่วยคลี่คลายความตึงเครียดในปัจจุบัน สร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การสนทนาและการไกล่เกลี่ยระหว่างทุกฝ่ายในลิเบีย

ความท้าทายและอุปสรรค

แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์ยังเตือนว่า ยังเร็วเกินไปที่จะตั้งความหวังเกี่ยวกับมาตรการที่มีความเป็นไปได้สูงในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขการปะทะในลิเบียเพราะยังมีอุปสรรคและความท้าทายที่รุนแรงอยู่ ซึ่งจะส่งผลต่อความพยายามแก้ไขการปะทะในลิเบียของประชาคมโลก

เนื่องจากทั้งสองขั้วอำนาจหลักในลิเบียยังไม่สามารถแสวงหาเสียงพูดเดียวกันได้ ดังนั้นในการประชุมนานาชาติ ณ กรุงเบอร์ลิน สิ่งที่ประชามติรอคอยคือการพบปะระหว่างแกนนำของทั้ง 2 ฝ่ายในลิเบียแต่กยังไม่เกิดขึ้น โดยนาย Fayez al-Sarraj ผู้นำรัฐบาลสามัคคีประชาชาติลิเบียหรือ GNA และนายพล Khalifa Haftar แกนนำกองกำลังที่อ้างตัวเป็นกองทัพแห่งชาติลิเบียหรือ LNA ไม่ต้องการที่จะพบปะกันโดยตรง ตัวแทนของรัสเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีอิทธิพลสำคัญต่อกองกำลัง LNA ได้แสดงความเห็นว่า การที่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถพบปะกันได้เป็น “สิ่งที่น่าเสียดาย” ก่อนหน้านั้น 1 สัปดาห์ ตัวแทนระดับสูงของ GNA และ LNA ไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับคำสั่งหยุดยิงที่รัสเซียและตุรกีเป็นผู้จัดทำในการเจรจา ณ กรุงมอสโคว์ ซึ่งหมายความว่า ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีความไว้วางใจต่อกัน

นอกจากนั้น สถานการณ์ในลิเบียยังมีความซับซ้อนมาก โดยมีการปรากฎตัวของกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มที่ไม่ได้สังกัดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในกระบวนการเจรจา ดังนั้น การค้ำประกันให้กลุ่มต่างๆปฏิบัติตามคำสั่งหยุดยิงจึงเป็นเรื่องยาก นอกจากนั้น การมีหลายประเทศเข้ามาแทรกแซงหรือมีอิทธิพลในลิเบียก็เป็นความท้าทาย บรรดานักวิเคราะห์แสดงความเห็นว่า  ถ้าหากสถานการณ์ในลิเบียเปลี่ยนแปลงไปในทางลบต่อประเทศใดประเทศหนึ่งที่เข้ามรแทรกแซงก็อาจส่งผลต่อคำมั่นที่ให้ไว้

ถึงกระนั้น ด้วยความพยายามอย่างจริงจังของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะรัสเซียและเยอรมนี ประชามติโลกจึงตั้งความหวังสูงเกี่ยวกับความคืบหน้าในกระบวนการสันติภาพในลิเบียและเชื่อมั่นต่อความเป็นไปได้สูงที่จะบรรลุคำสั่งหยุดยิงในเวลาที่จะถึง อันเป็นการเปิดความหวังเกี่ยวกับการยุติความปวดร้าวให้แก่ประชาชนลิเบีย.

คำติชม