จุดประกายความรักวัฒนธรรมให้แก่นักเรียนชาวเอเดในโรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm ในจังหวัดดั๊กลั๊ก

H Xíu
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนผ่านการสอนการตีฆ้องและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อนำเสนอเรื่องวัฒนธรรมในพิธีเคารพธงชาติในทุกวันจันทร์ เป็นวิธีการที่ครูอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm อำเภอ Cư Mgar จังหวัดดั๊กลั๊กกำลังปฏิบัติเพื่อจุดประกายความรักวัฒนธรรมให้แก่นักเรียน
จุดประกายความรักวัฒนธรรมให้แก่นักเรียนชาวเอเดในโรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm ในจังหวัดดั๊กลั๊ก - ảnh 1สมาชิกทีมฆ้องฝึกตีฆ้องร่วมกัน

ในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา นักเรียนโรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm ในตำบล Ea Pôk อำเภอ Cư Mgar จังหวัดดั๊กลั๊กได้ฝึกตีฆ้องไม้ไผ่ หรือในภาษาชนเผ่าเรียกว่า Chingkram ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์คิดค้นโดยคนท้องถิ่นเพื่อใช้เล่นในงานชุมชนต่างๆของเผ่าเอเด โดยคุณ H Doen Ni Adrơng นักเรียนชั้นม.1 สมาชิกทีมฆ้องได้เผยว่า การเรียนการตีฆ้องในช่วงพักเบรกและในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ช่วยให้เขาได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนสิ่งใหม่ๆกับเพื่อนๆ ซึ่งทำให้เธอรู้สึกมีความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตนและมีความฝันที่จะเป็นครูเพื่อสอนเรื่องวัฒนธรรมของชนเผ่าเอเด“หนูอยากเข้าร่วมการแสดงฆ้องเพราะสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเอเด อีกทั้งมีความประสงค์เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะชนิดนี้ หนูชอบทำการแสดงฆ้องกับเพื่อนๆมาก โดยตั้งแต่ชั้นป.6 จนถึงปัจจุบัน หนูสามารถบรรเลงเพลง 2 บทอย่างคล่องแคล่ว หนูมีความฝันว่า จะเป็นครูเพื่อสอนการตีฆ้องให้แก่เด็กๆ”

ทีมฆ้องไผ่โรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm ได้รับการจัดตั้งเมื่อปีที่แล้ว ประกอบด้วยนักเรียนชั้นป.6และม.1 รวม 12 คน โดยศิลปินอาวุโสได้สอนการตีฆ้องให้แก่สมาชิกทีมหลังเลิกเรียน ซึ่งหลังการฝึกตีฆ้องอย่างกระตือรือร้นเป็นเวลา 3 เดือน สมาชิกทีมสามารถบรรเลงเพลงต่างๆอย่าง เช่น “เสียงเพรียกจากสายฝน” “ชวนดื่มเหล้า”และ“งานบุญข้าวใหม่” คุณหวอแทงเงิน นักเรียนชั้นม.1 ได้เผยว่า การเข้าร่วมทีมฆ้องไม่เพียงแต่ช่วยศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมเท่านั้น หากยังช่วยสร้างความเชื่อมโยงระหว่างนักเรียนเพื่อช่วยเหลือกันในการศึกษาอีกด้วย“หนูเป็นคนชนเผ่ากิงห์ แต่ชอบเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเอเดมากจึงได้ขอเข้าเป็นสมาชิกทีมฆ้องตั้งแต่ชั้นป.6เพื่อฝึกตีฆ้องร่วมกับเพื่อนชาวเอเดในทุกวันเสาร์”

นอกจากจัดตั้งทีมฆ้องแล้ว โรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm ยังได้จัดการประกวดเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมือง นาง เหงวียนถิถวีหงอก ครูดูแลงานด้านกองยุวชนของโรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm ได้เผยว่า จากการประกวดครั้งต่างๆทางโรงเรียนฯได้สอดแทรกเนื้อหาต่างๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นเมืองที่นักเรียนเรียบเรียงและนำเสนอในพิธีเคารพธงชาติในทุกวันจันทร์ ซึ่งได้รับการชื่นชมจากทั้งครูและนักเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเองในการนำเสนอผลงานของตนเป็นทั้งภาษาเอเดและภาษาเวียดนามและทำให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนฯอย่างเข้มแข็งมากขึ้น“หนึ่งคือในการแสดงศิลปะหรือวันงานสำคัญต่างๆ นักเรียนทุกคนต่างใส่ชุดแต่งกายของชนเผ่าเอเดและแสดงการรำซวาง ทางโรงเรียนฯได้สร้างบ้านไม้ยกพื้น ซึ่งทำให้สมาชิกทีมฆ้องมีความภาคภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่งและพร้อมเข้าร่วมการประกวดต่างๆ”

จุดประกายความรักวัฒนธรรมให้แก่นักเรียนชาวเอเดในโรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm ในจังหวัดดั๊กลั๊ก - ảnh 2ในบริเวณโรงเรียน มีการสร้างบ้านยาวของชาวเอเดที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงภาพถ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนฯในระยะต่างๆ สิ่งของวัตถุที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเอเดและหนังสือต่างๆ

ในปีการศึกษานี้ โรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm มี 11 ชั้นเรียน รวมนักเรียน 322 คน โดยนักเรียนร้อยละ 95 เป็นคนชนเผ่าเอเด ในบริเวณโรงเรียน มีบ้านยาวของชาวเอเดที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วเพื่อใช้จัดแสดงภาพถ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนฯในระยะต่างๆ สิ่งของวัตถุที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเอเดและหนังสือต่างๆ และยังเป็นสถานที่ที่นักเรียนหลายคนใช้เป็นที่อ่านหนังสือ ฝึกตีฆ้องและศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมของชนเผ่าเอเด ครูหว่างลองเดี๋ยน ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm ได้เผยว่า“ในเวลาข้างหน้า ทางโรงเรียนฯจะธำรงกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนผ่านการสอนการตีฆ้อง การจัดการประกวดต่างๆและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อนำเสนอเรื่องวัฒนธรรมของชาวเอเด”

การถ่ายทอดความรู้ควบคู่กับการศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองถือเป็นวิธีการปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนมัธยมตอนต้น Y Ngông Niê Kđăm โดยได้สร้างบรรยากาศที่เอื้อให้แก่การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆหลังเลิกเรียน อีกทั้งมีส่วนช่วยจุดประกายความรักวัฒนธรรมพื้นเมืองในหมู่นักเรียน.

คำติชม