กังวานเสียงกลองและฆ้องเกอตู

Hai Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) -เผ่าเกอตูที่อำเภอเติย ญาง จังหวัดกว๋างนาม นิยมใช้ฆ้องและกลองในกิจกรรมของชุมชน กลองและฆ้องเป็นทั้งเครื่องดนตรี ทั้งใช้ให้สัญญาณเพื่อเริ่มต้นงานเทศกาลและกิจกรรมของหมู่บ้านในบ้านรวมจะมีชุดกลองน้อยใหญ่ตั้งไว้บนชั้น พร้อมให้ชาวบ้านนำออกมาใช้เวลามีงาน
กังวานเสียงกลองและฆ้องเกอตู - ảnh 1กลองและฆ้องเป็นเครื่องดนตรีผูกพันกับชีวิตด้านจิตใจและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งเผ่าเกอตู  

ชาวเผ่าเกอตูใช้กลอง 3 ชนิด กลองขนาดใหญ่เรียกว่า กทู ชาเกอเบอ (k’thu, cha gơr bơh) กลองขนาดกลาง หรือ ปา ลือ (pâr lư) กลองขนาดเล็ก หรือ ชา เกอร์ กาเตือย  (char gơr katươi) หน้ากลองขึงด้วยหนังแพะภูเขาหรือหนังกวางเพราะหนังสัตว์เหล่านี้มีความบาง ช่วยให้เสียงกลองดังกังวาน  หนัววัวหนังควายไม่ค่อยใช้ทำกลองเพราะหนาเกินไป เสียงกลองไม่ดัง  เวลาทำกลองต้องใช้หวายเป็นเส้นยาว 20-30 เซ็นติเมตร เลือกส่วนที่ดีที่สุดเพื่อใช้เป็นเชือกขึงหน้ากลอง  และตัวกลองต้องทำจากไม้เนื้อดี  กลองขนาดใหญ่เมื่อตีจะให้เสียงดังกังวาน กลองขนาดเล็กใช้ตีให้จังหวะในการเต้นรำเป็นหมู่คณะ  นาย ปลองเปลงที่ตำบลลัง อำเภอเติย ญาง จังหวัดกว่างนาม เผยว่า

“สำหรับเผ่าเกอตู ฆ้องและกลองมีความสำคัญอย่างมาก  การเริ่มต้นงานเทศกาลอะไร หรืองานแต่งงาน งานร่วมสาบาน งานศพ ฆ้องเป็นเครื่องดนตรีนำหน้า แล้วตามด้วยกลอง ซึ่งกลองก็มี 3 ชนิด ได้แก่ กลองขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก"
ฆ้องและกลองมีความสำคัญมากต่องานเทศกาลในชุมชนเผ่าเกอตู  และยังมีความเห็นกันว่าเสียงกลองนี้เป็นที่มาของศิลปะการเต้นรำแบบดั้งเดิมของเผ่าเกอตู  หลังจากเสียงกลองดังขึ้น หญิงสาวเกอตูจะเดินออกมาร่ายรำก่อนแล้วตามด้วยผู้ชายทีหลัง  ในคณะเต้นรำ ผู้หญิงจะเดินนำ ผู้ชายเดินตาม  หากเป็นการรำหมู่ ผู้หญิงจะรำอยู่วงใน ส่วนผู้ชายรำอยู่วงนอก เป็นการปกป้องของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิง  นายอา ลัง ตึง ที่ตำบลลัง อำเภอเติย ญาง เล่าว่า
“เครื่องดนตรีใช้ทั้งกลองและฆ้อง แต่จะใช้กลองเป็นหลักโดยมีจังหวะ 5-6 จังหวะ ส่วนฆ้องตีเป็นจังหวะตาม ในการตีกลองและฆ้อง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องรักษาจังหวะให้ดี  ต้องรอให้เสียงกลองเริ่มก่อน เสียงเครื่องดนตรีชนิดอื่นถึงจะตามมา  คนตีกลองเป็นคนที่สำคัญที่สุดในคณะนักดนตรี”
กลองและฆ้องเป็นจิตวิญญาณที่มีชีวิต เป็นเสียงขอพรให้ฤดูกาลเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี เป็นเสียงอทิษฐานให้ชาวบ้านมีสุขภาพแข็งแรง  เสียงกลองเสียงฆ้องดังขึ้นในทุกพิธีกรรมเซ่นไหว้และงานเทศกาลของหมู่บ้าน กลายเป็นเสียงอันคุ้นเคยจนชาวบ้านทุกคนต่างเข้าใจความหมายของเสียงดนตรีเหล่านี้  นายอา ลัง ตึง ยังเล่าเสริมว่า
“สมัยก่อนยังไม่มีโทรศัพท์ ชาวบ้านอาศัยอยู่กันกระจัดกระจาย  พวกเขาจะรับรู้ผ่านเสียงกลองเสียงฆ้องว่าในหมู่บ้านเกิดเรื่องอะไร มีใครเจ็บป่วยหรือจับสัตว์ป่าได้ หรือถึงเวลามาชุมนุมกัน พวกเขาต่างรู้ว่าเสียงตีกลอง 1 ครั้งหรือ 3 ครั้งเป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร”
กลองและฆ้องเป็นเครื่องดนตรีผูกพันกับชีวิตด้านจิตใจและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งเผ่าเกอตู ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของหมู่บ้าน พร้อมทั้งเป็นเอกลักษณ์ของมรดกวัฒนธรรมทางนามธรรมของชนเผ่า เช่น ดนตรี การร้องเพลง และการเต้นรำ หรืองานเทศกาล   ดังนั้นภาพผู้ชายตีฆ้องตีกลองในงานเทศกาลได้รับการถ่ายทอดจากศิลปินอย่างมีชีวิตชีวาในบ้านGươi ของเผ่าเกอตู

คำติชม